พื้นที่รับน้ำ 5 แห่งที่กรมชลฯ กำหนดไม่เพียงพอ

Wednesday, 08 February 2012 Read 1135 times Written by 

08_02_2012_4

พื้นที่แก้มลิงตามธรรมชาติทั้ง 5 แห่งตามแผนกรมชลประทาน มีพื้นที่กว่า 230,000 ไร่ แต่การกำหนดพื้นที่รับน้ำตามที่ กยน.กำหนดต้องให้ได้อย่างน้อย 2,000,000 ไร่ จึงไม่เพียงพอที่จะรับน้ำได้ทั้งหมด คาดว่าบางพื้นที่ยังเกิดน้ำท่วมอีก

แผนเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ข้อหนึ่งมีการกำหนดให้มีพื้นที่รับน้ำในฤดูน้ำหลากในปีนี้ให้ได้อย่างน้อย 2,000,000 ไร่ ทั้งนี้จะต้องมีการสำรวจพื้นที่ และเจรจากับชาวบ้านเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จึงทำให้ยังไม่สามารถกำหนดพื้นที่ได้แน่ชัด แต่จากการสำรวจของกรมชลประทานพบว่า ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางมีพื้นที่แอ่งกระทะทีเหมาะจะเป็นพื้นที่รับน้ำอยู่ 5 แห่ง

พื้นที่แก้มลิงตามธรรมชาติทั้ง 5 แห่ง ตามแผนกรมชลประทาน คือ ทุ่งเชียงรากในจังหวัดสิงห์บุรี, ทุ่งบางกุ่มในจังหวัดสระบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ทุ่งวัดอุโลมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ทุ่งบางกุ้งในจังหวัดอ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา และทุ่งท่าวุ้ง ในจังหวัดลพบุรี ทั้ง 5 ทุ่ง มีพื้นที่กว่า 230,000 ไร่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับน้ำได้ทั้งหมด ซึ่งคาดว่ายังจะเกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่อยู่

ขณะที่ชาวนาหลายตำบลในทุ่งท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ที่กำลังเริ่มต้นปลูกข้าวเป็นครั้งแรก หลังเพิ่งถูกน้ำท่วมมานานกว่า 3 เดือนเมื่อปีที่ผ่านมาบอกว่า ถ้ารัฐบาลจะกำหนดให้ทุ่งท่าวุ้งเป็นพื้นที่รับน้ำก็ควรให้ความเป็นธรรมกับชาวนาด้วย

ขณะนี้รัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถประกาศพื้นที่รับน้ำให้ได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ หลังจากเจรจากับชาวบ้านในพื้นที่เรียบร้อยแล้ว โดยนายกรัฐมนตรี และกรรมการ กยน. เตรียมลงพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหาของชาวบ้านในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้

ขอขอบคุณ http://news.thaipbs.or.th 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank