น้ำท่วมจังหวัดชายแดนใต้ขยายวงกว้าง

Sunday, 15 January 2012 Read 909 times Written by 

15_01_2012_1

สถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังน่าห่วง บางจังหวัดขยายวงกว้างไปหลายพื้นที่หลังฝนตกหนักตลอดคืน ที่จังหวัดสงขลามีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 คน

จังหวัดสงขลา น้ำท่วมละลอกสองในพื้นที่ 6 อำเภอเริ่มคลี่คลาย ยกเว้นพื้นที่ลุ่มต่ำรอบริมคลองสาขา ก่อนไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ยังคงมีน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอจะนะ 8 ตำบล 40 หมู่บ้าน ชาวบ้านกว่า 2,000 ครัวเรือน ยังคงมีน้ำท่วมขัง ระดับน้ำสูง 30 – 70 เซนติเมตร

นายณรงค์พร ณ.พัทลุง นายอำเภอจะนะ เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวบ้านกว่า 50 ครัวเรือนในพื้นที่ หมู่ 11 บ้านนาหว้า ทางราชการยังไม่สามารถเข้าไปให้การช่วยเหลือได้  เนื่องจากกระแสน้ำยังไหลเชี่ยวกราก ประกอบกับ สะพานถูกกระแสน้ำพัดพังเสียหาย อย่างไรก็ตามได้ประสานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ขอสนับสนุนสะพานชั่วคราว ( แบร์ริง) เข้าซ่อมแซมเพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรได้ต่อไปแล้ว

ล่าสุดพบมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 คน ที่บริเวณชลประทานบ้านท่อล้อ ท้องที่ ม.3 ต.สะพานไม้ คือนายเลอเกียรติ แก้วปนทอง อายุ 43 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.3 ขณะนำวัวที่ผูกไว้เหนือฝ่ายน้ำล้นหนีน้ำ แต่เมื่อนำวัวข้ามฟากไปได้แล้ว กับพบเห็นปลากระโดดเหนือน้ำจำนวนมาก จึงตัดสินใจทอดแหจับปลาก่อน สุดท้ายเกิดพลาดพลัดตกน้ำ ถูกกระแสน้ำพัดหายไปยังหาศพไม่พบถึงแม้จะระดมกำลังนักประดาน้ำจากหน่วยกู้ภัย เข้าร่วมค้นหาแล้วก็ตาม

ด้านนายกฤษดา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผย กรณี การใช้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ล่าช้า หลังมีเกษตรกรชาวสวนพริกในพื้นที่อำเภอระโนดร้องผ่านสื่อ ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ ว่า ขอให้เกษตรกรและผู้ประสบภัยไปขึ้นทะเบียน แจ้งเป็นผู้ประสบอุทกภัย ณ. ที่ว่าการอำเภอ หรือ เทศบาล ใกล้บ้าน เพื่อเสนออนุมัติเงินเยียวยา ผ่านไปยังรัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยต่อไป

ความคืบหน้าน้ำท่วมจังหวัดนราธิวาส  พบว่า ตลอดทั้งคืนที่ผ่านมามีฝนตกหนักปกคลุมพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ และได้เบาบางลงในช่วงเช้า ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักทั้ง 3 สาย คือ แม่น้ำสุไหงโก-ลก บางนรา และ แม่น้ำสายบุรี มีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ล้นตลิ่งไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตร และบ้านเรือนประชาชนที่ปลูกสร้างอยู่ริมแนวตลิ่งเป็นช่วงๆ แถมคลองสายหลักในบางพื้นที่ก็มีระดับน้ำสูงจนไหลเข้าท่วมบ้านเรือน ถนนสายหลักและสายรอง ขยายวงกว้างในพื้นที่ 5 อำเภอ คือ อำเภอสุไหงโก-ลก ระแงะ รือเสาะ จะแนะ และสุคิริน โดยมีระดับน้ำท่วมขังสูง 40-50 ซ.ม. โดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักสุดอยู่ที่ อำเภอสุไหงโก-ลก บริเวณชุมชนหัวสะพาน ท่าชมพู่ ท่ากอไผ่ และ ท่าบือเร็ง ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากน้ำป่าที่ไหลจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ในพื้นที่อำเภอสุคิริน นอกจากนี้ยังเป็นผลพวงจากปริมาณน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่รัฐกลันตัน ของประเทศมาเลเซีย ที่เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันน้ำท่วมได้ทำการระบายน้ำจากพื้นที่เศรษฐกิจลงสู่แม่น้ำสุไหงโก-ลก

จังหวัดปัตตานี หลังจากมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้น้ำท่วมขยายวงกว้างเข้าท่วมใน 3 อำเภอ คือ อ.แม่ลาน อ.ยะรัง และอ.เมือง โดยเฉพาะที่ อ.เมือง น้ำท่วมได้ขยายวงกว้างไปอีก 3 ตำบล คือ ต.ตะลุโบะ ต.บาราเฮาะ และ ต.ปะกาฮารัง ทำให้บ้านเรือนกว่า 1,000 หลังคาเรือน ต้องเดือดร้อนอีกครั้ง เป็นรอบที่ 5 แล้ว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีลักษณะคล้ายแอ่งกระทะ อีกทั้งหมู่บ้านยังอยู่ในระดับเดียวกับแม่น้ำ โดยไม่มีเขื่อนกันน้ำทำให้น้ำไหลเข้าทะลักเข้าท่วมได้ง่ายกว่าที่อื่นและรุนแรง

นอกจากนี้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปัตตานี ได้ออกแจ้งเตือนในพื้นที่ 6 อำเภอ โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี ซึ่งพื้นที่ทางน้ำไหลผ่านได้แก่ อ.ยะรัง อ.แม่ลาน อ.กะพ้อ อ.หนองจิก อ.สายบุรี และ อ.เมืองงปัตตานี ระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ ด้วย ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไปมีกำลังแรง คลื่นสูง 2 – 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ และขอให้ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

ขอขอบคุณ http://www.krobkruakao.com 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank