สถานการณ์ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ยังคงรุนแรง เนื่องจากลมทะเลทำมุม90องศากับชายฝั่ง ทำให้ปีนี้มีปัญหาการกัดเซาะรุนแรงมากผิดปกติ โดยปีนี้หนักกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหาย
(27 ธ.ค.54) สถานการณ์ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ ต.ท่าบอนยังคงรุนแรงและหนักหน่วง นายปราโมทย์ แสงอรุณ นายกอบต.ท่าบอน ต.ท่าบอน อ.ระโนด เปิดเผยว่า ทางอบต.ทำได้แค่ช่วยเหลือประชาชนตามอัตภาพและกำลังของส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กในขณะที่ปัญหามีความรุนแรงมาก เบื้องต้นจึงทำได้เพียงเอากระสอบทราย ยางล้อรถยนต์ และตัดไม้มาวางปักเป็นแนวกั้นคลื่นเท่านั้น เบื้องต้นจึงอยากให้ส่วนกลางยื่นความช่วยเหลือ เนื่องจากขณะนี้บ้านเรือนชาวบ้านได้รับความเสียหายพังบางส่วนแล้วกว่า20หลังคาเรือน เพราะส่วนใหญ่เป็นชาวประมงชายฝั่งจึงปลูกบ้านอยู่ไม่ห่างจากชายฝั่ง กระทั่งเมื่อเกิดคลื่นลมแรงจึงได้พัดพาบ้านเรือนจมหายชาวบ้านต้องย้ายไปอยู่อาศัยที่อื่นชั่วคราวในช่วงกลางคืน ส่วนกลางวันก็กลับมาเฝ้าทรัพย์สินและสังเกตุการณ์คลื่นลมที่ยังมีกำลังแรง เพราะกลัวว่าจะมีทรัพย์สินและบ้านเรือนได้รับความเสียหายอีก
"ชาวบ้านจะย้ายถิ่นฐานก็ไม่รู้จะไปไหน และหากไม่ดำเนินการใดๆตั้งแต่เวลานี้คาดว่ามรสุมปีหน้าบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งหลายแห่งของอำเภอระโนดอาจพังเสียหายหนักกว่าเดิม โดยเฉพาะต.ท่าบอนมี10หมู่บ้านหรือ 9,000คน โดยเกินกว่าครึ่งคือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจากปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง"นายปราโมทย์ กล่าว
ด้านนายสุคนธ์ จิตภักดี อายุ53ปี ชาวประมงชายฝั่ง ในหมู่1 บ้านท่าเข็น ต.คลองแดน อ.ระโนด จ.สงลา กล่าวว่า ปัญหาคลื่นกัดเซาะบริเวณบ้านท่าเข็นถือเป็นจุดที่วิกฤติที่สุด ที่สำคัญชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง ซึ่งไม่สามารถออกทะเลหาปลาได้เป็นเวลาเกือบ2เดือนแล้ว ทำให้ขณะนี้มีความยากลำบากในการดำรงค์ชีพอย่างมากและที่สำคัญบ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างหนัก ฝาบ้านพังเพราะแรงลมหลังคาสังกะสีปลิวหายหลายแผ่น บางครัวเรือนน้ำซัดตัวบ้านพังต้องอพยพไปอาศัยที่อื่นชั่วคราว จึงอยากฝากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือทั้งในเรื่องของอาชีพและที่อยู่อาศัยอย่างเร่งด่วน
อย่างไรก็ตาม ลมมรสุมในปีนี้หนักกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายให้ประชาชนอย่างมาก โดยปัญหาคลื่นลมแรงจัดในขณะนี้ได้ทำให้ประชาชนตกอยู่ในสภาพไม่มีแผ่นดินอยู่ อีกทั้งไม่มีบ้านอยู่ซึ่งถือว่าวิกฤติหนัก โดยเฉพาะต.ท่าบอน และคลองแดน อำเภอระโนด แต่จะหนักหน่วงคนละแบบกับหาดสมิหลา ในแง่ของเศรษฐกิจและความเป็นอยู่
ขอขอบคุณที่มา: สำนักข่าวไทยมุสลิม http://www.thaimuslim.com
(27 ธ.ค.54) สถานการณ์ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ ต.ท่าบอนยังคงรุนแรงและหนักหน่วง นายปราโมทย์ แสงอรุณ นายกอบต.ท่าบอน ต.ท่าบอน อ.ระโนด เปิดเผยว่า ทางอบต.ทำได้แค่ช่วยเหลือประชาชนตามอัตภาพและกำลังของส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กในขณะที่ปัญหามีความรุนแรงมาก เบื้องต้นจึงทำได้เพียงเอากระสอบทราย ยางล้อรถยนต์ และตัดไม้มาวางปักเป็นแนวกั้นคลื่นเท่านั้น เบื้องต้นจึงอยากให้ส่วนกลางยื่นความช่วยเหลือ เนื่องจากขณะนี้บ้านเรือนชาวบ้านได้รับความเสียหายพังบางส่วนแล้วกว่า20หลังคาเรือน เพราะส่วนใหญ่เป็นชาวประมงชายฝั่งจึงปลูกบ้านอยู่ไม่ห่างจากชายฝั่ง กระทั่งเมื่อเกิดคลื่นลมแรงจึงได้พัดพาบ้านเรือนจมหายชาวบ้านต้องย้ายไปอยู่อาศัยที่อื่นชั่วคราวในช่วงกลางคืน ส่วนกลางวันก็กลับมาเฝ้าทรัพย์สินและสังเกตุการณ์คลื่นลมที่ยังมีกำลังแรง เพราะกลัวว่าจะมีทรัพย์สินและบ้านเรือนได้รับความเสียหายอีก
"ชาวบ้านจะย้ายถิ่นฐานก็ไม่รู้จะไปไหน และหากไม่ดำเนินการใดๆตั้งแต่เวลานี้คาดว่ามรสุมปีหน้าบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งหลายแห่งของอำเภอระโนดอาจพังเสียหายหนักกว่าเดิม โดยเฉพาะต.ท่าบอนมี10หมู่บ้านหรือ 9,000คน โดยเกินกว่าครึ่งคือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจากปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง"นายปราโมทย์ กล่าว
ด้านนายสุคนธ์ จิตภักดี อายุ53ปี ชาวประมงชายฝั่ง ในหมู่1 บ้านท่าเข็น ต.คลองแดน อ.ระโนด จ.สงลา กล่าวว่า ปัญหาคลื่นกัดเซาะบริเวณบ้านท่าเข็นถือเป็นจุดที่วิกฤติที่สุด ที่สำคัญชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง ซึ่งไม่สามารถออกทะเลหาปลาได้เป็นเวลาเกือบ2เดือนแล้ว ทำให้ขณะนี้มีความยากลำบากในการดำรงค์ชีพอย่างมากและที่สำคัญบ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างหนัก ฝาบ้านพังเพราะแรงลมหลังคาสังกะสีปลิวหายหลายแผ่น บางครัวเรือนน้ำซัดตัวบ้านพังต้องอพยพไปอาศัยที่อื่นชั่วคราว จึงอยากฝากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือทั้งในเรื่องของอาชีพและที่อยู่อาศัยอย่างเร่งด่วน
อย่างไรก็ตาม ลมมรสุมในปีนี้หนักกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายให้ประชาชนอย่างมาก โดยปัญหาคลื่นลมแรงจัดในขณะนี้ได้ทำให้ประชาชนตกอยู่ในสภาพไม่มีแผ่นดินอยู่ อีกทั้งไม่มีบ้านอยู่ซึ่งถือว่าวิกฤติหนัก โดยเฉพาะต.ท่าบอน และคลองแดน อำเภอระโนด แต่จะหนักหน่วงคนละแบบกับหาดสมิหลา ในแง่ของเศรษฐกิจและความเป็นอยู่
ขอขอบคุณที่มา: สำนักข่าวไทยมุสลิม http://www.thaimuslim.com