พระนครศรีอยุธยา - เพิ่มปริมาณปล่อยน้ำเหนือ น้ำทะลักกัดเซาะคอสะพานวัดดุสิตาราม-ช่างแสงพัง เทศบาลเมืองอโยธยา พระนครศรีอยุธยา เร่งเสริมแนวกั้นกันน้ำทะลักเข้าชุมชนอีก 6,000 ครัวเรือน
วันนี้ (13 ก.ย.) เวลา 13.00 น.นายณรงค์ ด่านชัยวิโรจน์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอโยธยา จ.พระนครศรีอนุธยา ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธานำรถแบ็กโฮ และคนงานจากเทศบาลเมืองอโยธยา และ อบต.หันตรา กว่า 100 คน เร่งเสริมแนวคันดินกั้นเพื่อปิดทางน้ำไหล ตรงคอสะพานวัดดุสิต ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากที่เมื่อเช้ามืดที่ผ่านมากระแสน้ำเหนือหลากได้พังคอสะพานและแนวค้นกั้นน้ำคอสะพานวัดดุสิตพัง กว้างประมาณ 3-4 เมตร ลึกประมาณ 3 เมตร
ทำให้น้ำจากคลองหันตรา ที่รับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก และลพบุรี ทะลักเข้าไปในพื้นที่คันล้อมในเขตเทศบาลเมืองอโยธยา และ อบต.หันตรา ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนเก่าและชุชนเมืองใหญ่ที่ประชากรหนาแน่นที่สุดกว่า 6,000 หลังคาเรือน รวมทั้งตลาดน้ำแห่งใหญ่ คือตลาดน้ำอโยธยา
ในเหตุการณ์น้ำกัดคอสะพานขาด ทำให้น้ำไหลเข้าคลองด้านใน และส่งผลให้ระดับน้ำในคลองและในพื้นที่ชุมขนเพิ่งสูงขึ้นประมาณ 30 ซม.และเกือบจะท่วมชุมชน โชคดีที่เจ้าหน้าที่สามารถปิดทางน้ำไหลได้ ทำให้ชุดชนอดพ้นจากการถูกน้ำท่วม ทั้งนี้นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 พรรคชาติไทยพัฒนาเดินทางเข้าช่วยเหลือตรงจุดที่คอสะพานขาดเช่นเช่นกัน
ทั้งนี้ ผลของการปิดทางน้ำไหลได้ทำให้ชุมชนเมืองรอดพ้นจากการถูกน้ำท่วม แต่ด้วยระดับคันกั้นน้ำที่ทำไว้ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกันยายนด้วยการทำกันกั้นน้ำปิดปากคลองปากคลองหันตราและคลองกะมัง และทำให้ให้ระดับน้ำหน้าคันกั้นน้ำสูงกว่าในคันกั้นน้ำกว่า 3 เมตร และต้องมีการเพิ่มคนงานเฝ้าระวังกันกั้นน้ำทุกจุดเสี่ยงตลอดเวลา
นายณรงค์ ด่านชัยวิโรจน์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอโยธยา เปิดเผยว่า การเสริมแนวกั้นเพื่อไม่ให้น้ำทะลักเข้าท่วมชุมชนเมืองโดยใช้ซิบพลายกดลงไปในดินเกือบ 8 เมตร ลงในน้ำประมาณ 5 เมตร โผล่พ้นน้ำประมาณ 3 เมตรเศษ คาดว่าหากน้ำมีปริมาณสูงขึ้นอีก 1 เมตรยังรับมือได้อย่างสบาย
ส่วนราษฎรที่อยู่เหนือน้ำได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงเหตุผลว่า การปิดกั้นน้ำให้อยู่ในบริเวณจำกัดชาวบ้านที่อยู่เหนือเขื่อนต้องท่วมอยู่แล้วแต่ให้เสียสละเพื่อคนหมู่มาก กว่า 6,000 ครัวเรือนต้องได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสหากปล่อยน้ำ รวมทั้งถนนหนทาง วัดวาอารามอีกมาก
ด้านบ้านเรือนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำบริเวณรอบๆ ตัวโบราณสถาณ จ.พระนครศรีอยุธยาถูกน้ำท่วม สูง 2-3 ม. จึงต้องใช้เรือพายในการสัญจรอีกด้วย
ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th