สถานการณ์มวลน้ำไหลผ่านลุ่มเจ้าพระยา

Wednesday, 07 September 2011 Read 1055 times Written by 

7_9_2011_2

กรมชลประทาน เตือนพื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาหลายจังหวัด มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นวันละ 10-15 เซนติเมตร ต่อเนื่องไปจนถึงกลางเดือน และภายในเดือนนี้อาจมีพายุเข้าภาคกลางและเหนือตอนล่างอีก 6 ลูก

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้มีมวลน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 3,074 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท 2,528 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นกว่าช่วงเช้า 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง 2,286 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ล่าสุดมีปริมาณน้ำไหลผ่าน อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2,645 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

การเดินทางของก้อนน้ำในแต่ละจุดจากอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านมายังลุ่มน้ำเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ใช้เวลาประมาณ 57 ชั่วโมง จะถึงอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคาดว่าประมาณ 65 ชั่วโมงก้อนน้ำนี้จะถึงจังหวัดปทุมธานี และภายใน 71 ชั่วโมงน้ำจะถึงจังหวัดนนทบุรี

ทั้งนี้กรมชลประทาน ได้ขอให้เขื่อนภูมิพลลดการปล่อยน้ำใน 2 วันข้างหน้า จากเดิมที่ปล่อยวันละ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อลดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งขณะนี้เขื่อนภูมิพลจะมีระดับน้ำมากเป็นประวัติการณ์ถึง 6,000 กว่าลูกบาศก์เมตรก็ตาม นอกจากนี้ยังให้เขื่อนสิริกิติ์ลดการปล่อยน้ำด้วยเช่นกัน

น้ำที่ไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่ภาคกลางทำให้ชาวบ้านเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนน้ำมาถึง หลายครอบครัวซึ่งทำนาในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี และ อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ต้องเร่งเกี่ยวข้าวก่อนกำหนดถึง 2 สัปดาห์ เพื่อหนีน้ำท่วม แม้ว่าข้าวจะยังไม่สุกและอาจขายไม่ได้ราคา แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้ข้าวถูกน้ำท่วมเสียหายหมด

ขณะที่คณะรัฐมนตรีวันนี้ อนุมัติการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2554 เป็นกรณีพิเศษลดระยะเวลาในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยกรณีพิเศษให้เร็วขึ้นจากเดิม 90 วันเป็น 60 วัน ยกเว้นพื้นที่ที่ไม่สามารถตรวจสอบจากภาพถ่ายดาวเทียมให้ดำเนินการหลังน้ำลด โดยจ่ายชดเชยครอบครัวที่ประสบภัยน้ำท่วมติดต่อกันเกิน 7 วัน ครัวเรือนละ 5,000 บาท


ขอขอบคุณ http://www.krobkruakao.com
 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank