กรมชลฯ เตรียมปรับลดการระบายน้ำเขื่อนลำพระเพลิง

Monday, 12 October 2020 Read 603 times Written by 

12102020 1

สถานการณ์น้ำท่วมใน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่คลี่คลาย ก็ทำให้ทางชลประทาน เตรียมปรับแผนการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนลำพระเพลิง ด้วยการลดปริมาณการรระบายน้ำให้ต่ำกว่าวันละ 5 ล้าน ลบ.ม. หลังน้ำจากเทือกเขาใหญ่ที่ไหลเข้าอ่างมีแนวโน้มลดลง

วันนี้ (11 ต.ค.63) ชาวบ้านใน ต.งิ้ว อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา เร่งบรรจุกระสอบทรายแล้วนำไปวางตลอดแนวคลองส่งน้ำสายใหญ่ลำพระเพลิง โดยเฉพาะในจุดที่ลุ่มต่ำ บริเวณหน้าสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคปักธงชัย เพื่อไม่ให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมชุมชนและนาข้าวที่ใกล้จะเก็บเกี่ยว

นายเอนก พันธ์ฉิมพลี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว เปิดเผยว่า พื้นที่ ต.งิ้ว เป็นพื้นที่รับน้ำจากเขื่อนลำพระเพลิง ลำสำลาย และลำน้ำสาขา อีกทั้งมีลักษณะเป็นคอขวดจึงประสานเอกชนเปิดทางน้ำในที่ดินเอกชนเพื่อให้มวลน้ำไหลลงสู่ตำบลนกออกไม่เช่นนั้นน้ำจะท่วมในเขต ต.งิ้ว เป็นบริเวณกว้าง

ส่วนที่บ้านบุโพธิ์ ต.ตูม ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อกับ ต.งิ้ว มีลำน้ำจากทั้ง 3 ทิศทางโอบล้อมหมู่บ้านและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทำให้ชาวบ้านต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ผลกระทบจากการเร่งระบายน้ำจากเขื่อนลำพระเพลิงวันละ 5 ล้าน ลบ.ม.ทำให้นาข้าวที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้รับผลกระทบ ชาวนาต้องเร่งเกี่ยวข้าวหนีน้ำแม้ว่าข้าวจะยังสุกไม่เต็มที่ก็ตามและยอมขายข้าวในราคาต่ำดีกว่าข้าวถูกน้ำท่วมเสียหายทั้งหมด

ขณะที่เขื่อนลำพระเพลิง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 95 ของความจุ เหลืออีกเพียง 7 ล้าน ลบ.ม. น้ำก็จะล้นอ่าง ซึ่งทางชลประทานยังคงแผนบริหารจัดการน้ำเช่นเดิม คือ ระบายผ่านคลองส่งน้ำสายใหญ่ คลองธรรมชาติและระบายสู่ลำสำลาย ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางซึ่งขณะนี้ใกล้เต็มความจุ แต่ยืนยันว่า ขณะนี้อ่างลำสำลายยังไม่มีการระบายน้ำลงสู่พื้นที่ท้ายเขื่อนแต่อย่างใดเพราะหากระบายน้ำลงไป มวลน้ำเหล่านี้จะไปสมทบกับลำพระเพลิง ซึ่งจะส่งผลกระทบชาวบ้านในพื้นที่ท้ายน้ำเป็นบริเวณกว้าง

Credit เนื้อหาและภาพประกอบ https://news.thaipbs.or.th/content/297270

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank