เตือนชาวบ้านรับมือ มวลน้ำจากสุโขทัยเข้าพิษณุโลกแล้ว

Tuesday, 25 August 2020 Read 562 times Written by 

25082020 2

(24 ส.ค.64) เมื่อเวลา 09.00 น. นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก พร้อมเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่คลองแยงมุม บ้านวังขี้เหล็ก ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำที่ระบายมาจากประตูน้ำหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย โดยทางกรมชลประทานมีแผนการ บริหารจัดการน้ำ ใช้ ประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย บริหารจัดการและหน่วงน้ำไว้ ควบคุม ปริมาณน้ำไหล ผ่านประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ ลงสู่แม่น้ำยมสายหลัก ไม่เกิน 800 ลบ.ม./วินาที โดยให้ผ่านจุด Y.4 หน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย อ.เมือง สุโขทัย ให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านไม่เกิน 550 ลบ.ม/วินาที ผันน้ำผ่าน ประตูระบายน้ำคลองหกบาท 350ลบ.ม/วินาที โดยผันผ่านแม่น้ำยมสายเก่า ผ่านคลองเมม-คลองบางแก้ว ลงสู่แม่น้ำยมสายหลัก 240 ลบ.ม./วินาที และผันไปคลองยม-น่าน ลงสู่แม่น้ำน่าน 110 ลบ.ม./วินาที

ล่าสุดเมวลน้ำจากจังหวัดสุโขทัย ได้ไหลเข้าสู่พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ที่บริเวณแม่น้ำยมสายเก่า ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก และพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยน้ำเอ่อล้นตลิ่ง เนื่องจากคาดการณ์มวลน้ำก้อนแรกที่ไหลเข้าสู่พิษณุโลก มีปริมาณกว่า 60 ล้าน ลบ.ม. โดยเส้นทางแม่น้ำยมสายเก่า-คลองเมม-คลองบางแก้ว ในเขต อ.พรหมพิราม อ.เมือง อ.บางระกำ ได้มีการเร่งการระบายน้ำ ผ่าน ปตร.บ้านใหม่โพธิ์ทอง, ปตร.วังขี้เหล็ก และ ปตร.บางแก้ว ลงสู่แม่น้ำยมสายหลัก เบื้องต้นได้ผลักดันมวลน้ำก้อนน้ำลงสู่คลองน้ำธรรมชาติ ทั้ง 99 แห่ง ในพื้นที่ โดยเฉพาะที่บริเวณคลองแยงมุม ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม หากมีมวลน้ำเข้ามามากอีก ก็จะผันน้ำข้าทุ่ง ตามโครงการบางระกำโมเดล

ปัจจุบันที่ สถานีวัดน้ำ Y.64 อ.บางระกำ พิษณุโลก ระดับน้ำสูง 4.68 เมตร (ต่ำกว่าตลิ่ง 1.72 เมตร) ปริมาณน้ำไหลผ่าน 242.80 ลบ.ม/วินาที โดยหน่วยงานชลประทาน เร่งการระบายน้ำในแม่น้ำยมสายหลัก ได้แก่ ปตร.วังสะตือ และ ผันน้ำจากแม่น้ำยมลงสู่แม่น้ำน่าน ผ่าน คลอง DR-2.8 และ DR-15.8

จึงขอแจ้งเตือนประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก เตรียมความพร้อมรับน้ำแม่น้ำยมจากจังหวัดสุโขทัย โดยเฉพาะประชาชนและพื้นที่การเกษตร ที่อยู่ริมตลิ่งแม่น้ำยมสายหลัก และริมตลิ่งแม่น้ำยมสายเก่า-คลองเมม-คลองบางแก้ว อ.พรหมพิราม อ.เมือง และ อ.บางระกำ เฝ้าระวังสถานการณ์ และเตรียมการขนของขึ้นที่สูง หากเกิดภาวะน้ำเอ่อล้นตลิ่ง และขอให้ติดตามสถานการณ์น้ำจากหน่วยงานราชการในระยะนี้อย่างใกล้ชิด

Credit เนื้อหาและภาพประกอบ https://www.sanook.com/news/8238294/

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank