เขื่อนป่าสักยังคงวิกฤติหลังฝนทิ้งช่วง เขื่อนไซยะบุรีแจงน้ำโขงแห้งไม่เกี่ยวกักน้ำ

Thursday, 25 July 2019 Read 633 times Written by 

 july13

ประเด็นน่าสนใจ

  • ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ยังคงวิกฤตหลังจากได้รับผลกระทบฝนทิ้งช่วง
  • เขื่อนไซยะบุรี ได้ออกมาชี้แจงว่าสาเหตุของน้ำโขงที่แห้งไม่เกี่ยวข้องกับการกักน้ำของเขื่อน

ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักยังคงวิกฤติหลังจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ล่าสุดปริมาณน้ำสะสมอยู่ในอ่างเก็บน้ำร้อยละ 4.82 เปอร์เซ็นต์ หรือมีน้ำสะสมอยู่ที่ 46 ล้าน ลบ.ม. จากความจุทั้งหมดที่ 960 ล้าน ลบ.ม. โดยไม่มีฝนตกลงมาในลุ่มน้ำป่าสักเลยทำให้ไม่มีน้ำไหลลงอ่างของเขื่อนป่าสักฯ แต่ทางเขื่อนป่าสักจำเป็นต้องระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนเพื่อรักษาระบบนิเวศและใช้ในการอุปโภคบริโภค จากสภาพน้ำที่ลดลงของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในปีนี้ทำให้มองเห็นชุมชนเก่า บ้านเรือน วัด ที่ถูกน้ำท่วมจมอยู่ใต้เขื่อนโผล่ขึ้นมาให้ได้เห็นอีกครั้งในรอบหลายปี

ขณะนี้ทางเขื่อนป่าสักได้มีการทำกาลักน้ำ เพื่อผันน้ำไปช่วยหมู่บ้านท้ายเขื่อนให้ใช้ในการอุปโภคบริโภค ให้กับพื้นที่ 3 อำเภอ ของจังหวัดลพบุรี ได้แก่ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ และอำเภอโคกสำโรง

ซึ่งจากปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักฯ ที่ลดลงจนเห็นโขดเนินต่างๆ สันดอนดินโผล่กลางเขื่อนเป็นแนวยาว จนรถจักรยานยนต์สามารถขับไปถึงกลางเขื่อนได้ ทำให้เห็นชุมชนเก่า ที่จมอยู่ใต้เขื่อนกว่า 20 ปี นักท่องเที่ยวต่างถ่ายภาพบันทึกถึงวิกฤติความแห้งแล้ง ที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักเก็บไว้ในความทรงจำ

ส่วนที่ จังหวัดร้อยเอ็ดหลังจากเกิดฝนทิ้งช่วงในพื้นที่รวมถึงทุ่งกุลาร้องให้ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2562 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่อสมาชิกของสหกรณ์ การเกษตรเกษตรวิสัยจํากัด กว่า 9,000 ราย พื้นที่นาข้าว179,000 ไร่ ต้นข้าวขาดน้ำกำลังจะแห้งตาย จนอาจจะส่งผลกระทบเป็นบริเวณกว้าง ต่อการผลิตข้าวในปีหน้า เพราะทุ่งกุลาร้องไห้ถือเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิชั้นดี สู่ครัวโลก

แต่ล่าสุดคืนที่ผ่านมาได้เกิดฝนตกหนัก เป็นบริเวณกว้าง กินเวลานานนับชั่วโมงทำให้ทุ่งกุลาร้องไห้ที่เคยแห้งผาก ต้นข้าวขาดน้ำเกี่ยวเฉา ใกล้จะแห้งตายกับ ฟื้นคืนชีพ ขึ้นมาอีกครั้ง สร้างความดีใจให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และพื้นที่ใกล้เคียงต่าง

โดยนางสาววาสนา วงษ์รัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า สำหรับฝนดังกล่าวเกิดจากการทำฝนหลวง ซึ่งปรากฏว่า ผลออกมาดีเกินคาดซึ่งภารกิจของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังจะดำเนินต่อไปเพื่อ และคาดว่าอาจมีฝนตกลงมาอีก ถ้าเป็นอย่างนี้ คาดว่าจะสามารถยืดเวลาข้าวให้เจริญเติบโตไปอีกอย่างน้อย 2 เดือน

มากันที่จังหวัดมุกดาหาร พันเอกผดุงศักดิ์ พันธ์วิไล รองผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 24 สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา พร้อมเจ้าหน้าที่ตรวจความพร้อมของชุดบรรเทาสาธารณภัย หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 24 รถยนต์ตรวจการณ์ รถยนต์บรรทุกน้ำ ขนาด 6,000 ลิตร และรถผลิตน้ำประปาสนาม ลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวยบ้าน หลังยังได้รับ ผลจากภัยแล้งเพื่ออุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ชั่วคราว

ส่วนที่แม่น้ำโขง หลังจากภาวะน้ำ ที่เริ่มแห้งในหลายพื้นที่ โดยระบุว่า สาเหตุ เกิดจากการผลิตไฟฟ้า ของเขื่อนไซยะบุรี ในสปป.ลาว ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้แม่น้ำโขงตอนล่างตั้งแต่ลาวลงไปถึงเวียดนามแห้งขอดหรือไม่ วันนี้ผู้บริหารเขื่อนถึงขั้นสาบานว่าไม่เกี่ยว

อำเภอเชียงของเป็นผลโดยตรงจากการปล่อยน้ำของเขื่อนจิ่งหงในจีน หลังจากนั้นน้ำจะไหลเข้าไปในลาว ก่อนไหลออกมาริมฝั่งไทย ก็เลยทำให้

โดยนาย ธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บ.ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ยืนยันว่า เขื่อนไซยะบุรี ไม่ใช่ต้นตอของสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงที่มีปริมาณน้อยกว่าปกติ สาเหตุเกิดจากฝนทิ้งช่วงและการปล่อยน้ำจากจีน นอกจากส่งผลให้เกิดภัยแล้งกระทบประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำแล้ว โรงไฟฟ้าก็ได้รับผลกระทบ

เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอทดลองเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า โดยปริมาณน้ำขณะนี้ต่ำสุดในรอบ 50 ปี ซึ่งทางเขื่อน กักน้ำหน้าเขื่อนไว้เพียง 2.75 เมตร ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา จึงไม่ใช่ตัวการที่ทำให้น้ำท้ายเขื่อนแห้ง เพราะหากปล่อยน้ำออกไปจะใช้เวลาไม่นานน้ำท้ายเขื่อนจะลดลงเร็ว ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาน้ำแล้งได้จริง

 

Credit : https://news.mthai.com/general-news/747053.html

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank