ชลประทานเชียงใหม่ยันผ่านแล้งได้สบาย เตรียมผัน 5 หมื่นลบ.ม.

Tuesday, 28 March 2017 Read 1060 times Written by 

28 03 2017 11
ชลประทานเชียงใหม่ยันผ่านแล้งได้สบาย เตรียมผัน 5 หมื่นลบ.ม. เข้าคูเมืองไว้เล่นสงกรานต์
เมื่อค่ำวานนี้ (27 มีนาคม) ที่ห้องประชุมริมน้ำ โครงการชลประทานเชียงใหม่ สำนักชลประทานที่ 1 อ.เมืองเชียงใหม่ นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ นำทีมผู้บริหารแถลงสถานการณ์น้ำและแผนการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้ง ปี 2559/2560 ของพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบนว่า ไม่น่าจะมีปัญหาและสามารถผ่านฤดูแล้งนี้ไปได้ โดยอ่างเก็บขนาดเล็ก จำนวน 115 แห่ง มีน้ำกักเก็บเฉลี่ย 46% โดยปริมาณน้ำที่เหลือมากที่สุดคือ อ.กัลยาณิวัฒนา 91% และน้อยที่สุดคือ อ.ฮอด 8% และมี 4 อำเภอที่น่าห่วงคือ แม่วางและดอยเต่าที่มีน้ำเหลือน้อยกว่า 30% ส่วนดอยสะเก็ดและแม่แตงอยู่นอกเขตชลประทาน ในขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 12 แห่ง มีน้ำกักเก็บมากสุดคืออ่างเก็บน้ำแม่ตะไคร้ 89% และน้อยที่สุดคืออ่างเก็บน้ำห้วยมะนาว 24%
นายเจนศักดิ์กล่าวว่า ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อ.แม่แตง มีปริมาณน้ำกักเก็บ 48% หรือ 127 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้ และมีการแบ่งน้ำออกเป็น 3 ส่วน คือ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อพื้นที่ทางการเกษตรโครงการเขื่อนแม่งัด 78 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อปล่อยลงน้ำปิงใน 17 รอบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2560 เนื่องจากเป็นช่วงข้าวออกรวงและลำไยออกผลผลิต และขอร้องเกษตรระงับการปลูกข้าวนาปรัง ส่วน 32 ล้านลูกบาศก์เมตร เก็บสำรองไว้ในเขื่อน โดยคาดการณ์ว่าฝนน่าจะตกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2560

“เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อ.ดอยสะเก็ด มีปริมาณน้ำ 27% หรือ 62 ล้านลูกบาศก์เมตร แม้จะมากกว่าปีที่ผ่านมาแต่ปริมาณน้ำเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะอยู่ในช่วงต้นข้าวออกรวง แต่ยังควบคุมได้ไม่น่าห่วง สำหรับแม่น้ำปิง โชคดีที่ปีนี้น้ำดีกว่าปีที่ผ่านมา ยกเว้นด้านท้ายน้ำที่ประตูแม่สอย ซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำแจ่ม เนื่องจากลำน้ำปิงลาดชัน ทำให้เกษตรกรสูบน้ำยาก จึงวางแผนให้สูบน้ำในเวลาที่กำหนดหรือเฉพาะช่วงที่ส่งน้ำไปเท่านั้น ห้ามสูบน้ำตลอดเวลาเหมือนที่ผ่านมา” นายเจนศักดิ์กล่าว

นายเจนศักดิ์กล่าวอีกว่า ในแง่ของการเพาะปลูก จ.เชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกข้าว 170,000 ไร่ ขณะนี้ปลูกไปแล้ว 120,000 ไร่ จากที่ได้รับโควต้า 112,112 ไร่ แม้จะเกินไปเล็กน้อยแต่ไม่น่าห่วง โดยเรามีการปลูกข้าวมากที่สุดในพื้นที่ อ.แม่แตง รับน้ำจากคลองชลประทาน 700 ปี คือ 68,000 ไร่ มากกว่าปีที่ผ่านมา 8,000 ไร่ อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังเพราะปริมาณน้ำผ่านแม่แตงลดลง ส่วนในเขตเขื่อนแม่กวงปลูก 69,000 ไร่ เป็นไปตามแผนไม่น่าจะมีปัญหาแย่งชิงน้ำ ที่น่าห่วงคือลุ่มน้ำปิงมีการปลูกข้าว 14,000 ไร่ หากไม่มีการปลูกข้าวนาปรังเพิ่มก็ไม่มีปัญหา ล่าสุดได้ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้ทางอำเภอดอยหล่อและจอมทองระงับการปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 ในเดือนเมษายน เพราะจะเกิดปัญหาน้ำไม่เพียงพอและเกิดการแย่งชิงน้ำ เนื่องจากทราบว่ามีการเตรียมพื้นที่แล้วกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งจะต้องใช้น้ำสูงมากกว่า 2 ล้านลูกบาศก์เมตร

“สำหรับน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2560 ในเดือนเมษายนนี้ ชลประทานเชียงใหม่เตรียมผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่หยวก หรือกรีนเลค เข้าสู่คูเมืองในระหว่างวันที่ 28 มีนาคม-4 เมษายน 2560 ซึ่งสาเหตุที่ใช้น้ำจากกรีนเลคกว่า 200,000 ลูกบาศก์เมตร เพราะกำลังเตรียมขุดลอกพอดี โดยจะแบ่งน้ำออกเป็น 2 ก้อน คือ แบ่งให้คูเมือง 5 หมื่นลูกบาศก์เมตร และผลิตน้ำประปา 8 หมื่นลูกบาศก์เมตร ซึ่งจากการขุดลอกจะทำให้เพิ่มพื้นที่การกักเก็บน้ำของกรีนเลค 6 หมื่นลูกบาศก์เมตร” นายเจนศักดิ์กล่าวอีก

Credit เนื้อหาและภาพประกอบ http://www.matichon.co.th/news/510294

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank