ศูนย์น้ำสุโขทัยแจงชาวนาพรหมพิราม-บางระกำ “น้ำยม” ยังมีไม่พอ

Monday, 27 June 2016 Read 839 times Written by 

27 06 2016 4
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีเกษตรกรชาว อ.พรหมพิราม และ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก มีข้อกังวลเรื่องการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสุโขทัยซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับน้ำกักเก็บที่เขื่อนบ้านหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก มีปริมาณมาก ถ้าหากน้ำเหนือไหลบ่าลงมาสมทบ แล้วมีการผันน้ำเข้าสู่ประตูฝั่งซ้าย อาจทำให้น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรทั้ง 2 อำเภอของพิษณุโลกนั้น

นายประสิทธิ์ สุรินทร์คำ หัวหน้าศูนย์ประสานงานน้ำ “ประชารัฐ” จ.สุโขทัย ภาคประชาชน เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำที่หน้าเขื่อนบ้านหาดสะพานจันทร์ล่าสุดอยู่ที่ 61.18 เมตร ยังต่ำกว่าขอบบานประตู หรือจุดสูงสุดที่ 62.60 เมตร เป็นมวลน้ำสะสมมาตั้งแต่ฝนแรกของฤดูกาล มีปริมาณน้ำประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้เริ่มทยอยระบายน้ำไปให้เกษตรกรเพาะปลูกตามแผนที่วางไว้

รวมทั้งมีการเปิดประตูให้น้ำไหลลงสู่แม่น้ำยมสายหลักในอัตราการไหล 20.8 ลบ.ม./วินาที มากกว่าปริมาณน้ำไหลเข้าที่จุด Y.14ที่มีอัตราการไหลเข้า 20 ลบ.ม./วินาที เพื่อรักษาสมดุลน้ำให้มีไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เมื่อไม่มีน้ำเหนือไหลมาเติม แต่ถ้ามีน้ำเหนือไหลลงมาปริมาณมากเกิน 1,000 ลบ.ม./วินาที ก็สามารถผันน้ำเข้าไปกักเก็บในคู คลอง หนอง บึง ที่มีสภาพแห้งขอดได้อีกจำนวนมาก

สำหรับข้อเรียกร้องของเกษตรกรชาว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่ต้องการน้ำทำนานั้น ขอชี้แจงว่าจากการคำนวณจะต้องมีมวลน้ำมากถึง 17 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงจะไหลไปถึงในพื้นที่ อ.บางระกำ แต่ปัจจุบันยังมีน้ำกักเก็บไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถปล่อยระบายออกไปได้

“ก่อนจะเปิดประตูน้ำจะมีการสร้างแบบจำลองทางภูมิศาสตร์ โดยการป้อนมวลน้ำเข้าสู่โปรแกรมประกอบแผนที่อากาศ และข้อมูลพยากรณ์อากาศล่วงหน้าอย่างรอบคอบ ขอให้ประชนชนอุ่นใจเพราะศูนย์ประสานงานน้ำ “ประชารัฐ” จ.สุโขทัย จะบริหารจัดการบนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมเท่านั้น” นายประสิทธิ์ กล่าวย้ำ

Credit เนื้อหาและภาพประกอบ : http://www.matichon.co.th/news/189927

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank