เมืองคอนประกาศภัยแล้ง 7 อำเภอ แหล่งน้ำดิบน่าห่วง จังหวัดเร่งหาทางออก

Thursday, 12 May 2016 Read 713 times Written by 

12 05 2016 3
นครศรีธรรมราช ประกาศภัยพิบัติแล้งแล้ว 7 อำเภอ ผู้ว่าฯ ยันวางแผนรับมือแล้วแต่ปัญหารุนแรงขึ้น ขณะที่ฝนหลวงก็มีการบินทำต่อเนื่องแต่ความชื้นในอากาศไม่พอ ด้านนายกเทศมนตรีฯ ยันสั่งการให้สูบน้ำจากแหล่งน้ำดิบสำรองเต็มที่ตลอด 24 ชม.

เมื่อวันที่ 12 พ.ค.59 นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผวจ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (11 พ.ค.) ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ตนได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2/2559 โดยมีปลัดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราชเข้าร่วมประชุม

นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ขณะนี้ หลายพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร มีต้นไม้ผลยืนต้นตาย เช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง เป็นต้น ขณะนี้ได้มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน แล้ว 7 อำเภอ คือ อ.เมืองนครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ ปากพนัง เชียรใหญ่ จุฬาภรณ์ ฉวาง และนาบอน และกำลังจะประกาศเพิ่มเติมอีก 2 อำเภอคือ อ.ทุ่งสง และ อ.เฉลิมพระเกียรติ และเฉพาะในส่วนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ขณะนี้ ได้ให้เทศบาลเสนอผ่านอำเภอไปยังจังหวัดเพื่อประกาศเขตการให้ความช่วย เหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภายในวันที่ 12 พฤษภาคม 2559 เพื่อให้เทศบาลสามารถใช้งบฉุกเฉินมาแก้ไขปัญหาได้ เช่น การขุดเจาะบ่อบาดาล เป็นต้น เนื่องจากขาดแคลนน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำประปา

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวต่อว่า พร้อมทั้งให้ตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อหาแนวแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยมีนายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเป็นเลขานุการ มีปลัดจังหวัด นายกเทศมนตรีนครฯ เป็นรองประธาน นายอำเภอเมืองและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ ในส่วนของพื้นที่อื่นๆ ขอให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง พร้อมสำรวจความเสียหายจากภัยแล้ง ทั้งด้านพืช ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง ด้านน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และด้านอื่นๆ อย่างใกล้ชิด

นายพีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการปฏิบัติการฝนหลวงนั้น จังหวัดได้ขอรับการสนับสนุนจากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัญหาด้านความชื้นของสภาพอากาศที่ยังไม่เพียงพอ ซึ่งได้มีการบินปฏิบัติการแล้ว 20 เที่ยวบิน ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้มีเครื่องบินเพียงลำเดียว แต่ต้องรับผิดชอบถึง 6 จังหวัด ทราบว่าขณะนี้ปฏิบัติการอยู่ที่จังหวัดตรัง

“หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่า ทำไมจังหวัดไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า ทำไมเพิ่งมาดำเนินการในช่วงนี้ อันที่จริงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ประเมินสถานการณ์และดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การสร้างฝายชะลอน้ำ การขุดลอกคูคลอง แหล่งน้ำต่างๆ รวมทั้งการสำรวจแหล่งน้ำดิบสำรอง เป็นต้น แต่เมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้นจึงจำเป็นต้องหามาตรการต่างๆ มารองรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือปัญหาระยะสั้น การแก้ไขปัญหาภัยแล้งต้องช่วยเหลือกันทุกฝ่าย” ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าว

ด้าน นายเชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ปัจจุบันเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีแหล่งน้ำดิบอยู่ 2 บ่อใหญ่ คือที่บ้านวังก้อง ต.ท่างิ้ว และบ่อทราย ต.นาทราย โดยที่บ้านวังก้องสามารถสูบน้ำได้ไม่เกิน 7 วัน ส่วนที่บ่อทราย ต.นาทราย สั่งการให้สำนักการประปาสูบน้ำตลอด 24 ชั่วโมงคาดว่าจะสามารถใช้ได้ไม่เกิน 15 วันน้ำก็จะหมด ซึ่งต้องหยุดสูบ 3 วัน เพื่อให้น้ำใต้ดินซึมขึ้นมาเติมน้ำในบ่อ ในช่วงดังกล่าวได้หาแหล่งน้ำดิบสำรองไว้เพิ่มอีก 2-3 บ่อ สามารถสูบน้ำได้อีก 3-7 วัน แต่ต้องซื้อท่อเชื่อมกับระบบ

นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ เทศบาลกำลังจะมีการประกวดราคา เพื่อซื้อน้ำที่กรองสำเร็จรูปจาก 4 บริษัทยักษ์ใหญ่ เป็นเวลา 30 ปี วันละ 50,000 คิวๆ ละ 4.90 บาท ปีสุดท้ายคิดคิวละไม่เกิน 11.50 บาท ซึ่งจะสามารถสนับสนุนน้ำประปาให้กับ 4 เทศบาล และ 5 อบต.ที่อยู่รอบเทศบาลนครฯได้ด้วย เมื่อครบสัญญา 30 ปี ทั้งโรงกรองน้ำและระบบท่อจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเทศบาลนครฯ ซึ่งร่างประกาศ TOR ผ่านเรียบร้อยแล้ว และจะมีการนำเข้าที่ประชุมสภาเทศบาลในวันที่ 18 พฤษภาคมนี้ หากผ่านสภาก็จะสามารถดำเนินการตามระเบียบได้ทันที ทั้งนี้ ที่ผ่านมาตนถูกโจมตีว่าไม่ยอมสูบน้ำจากแหล่งน้ำดิบสำรอง เพื่อหวังประโยชน์จากการทำโครงการซื้อน้ำดิบของเอกชน อันที่จริงแล้วยังไม่รู้เลยว่า หากโครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ จะได้เอกชนรายใด เพราะต้องผ่านการประกวดราคา.

ที่มาของข่าวและภาพประกอบ https://www.thairath.co.th/content/619096

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank