แล้งหนักสองพี่น้องส่อวุ่น สองหมู่บ้านขัดแย้งเรื่องน้ำ

Tuesday, 08 March 2016 Read 932 times Written by 

08 03 2016 2

แล้งหนักสองพี่น้องส่อวุ่น สองหมู่บ้านขัดแย้งเรื่องน้ำ ชาวบ้านฮือทุบทำลายประตูกั้นน้ำ ใกล้สำนักสงฆ์เขาปรง ต.หนองบ่อ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี หลังประสบปัญหาแล้งจัดไม่มีน้ำกินใช้ อ้างมีหนังสือของเจ้าหน้าที่ให้ทุบประตูน้ำได้ เอาเข้าจริงกลับไม่แสดงก่อนเผ่นหนี

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2559 เวลา 21:01 น. เมื่อวันที่7มี.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่ ประตูกักเก็บน้ำ คลองส่งน้ำชลประทาน เส้น1L2R5L2Lบ้านเขาพนมนาง-หนองยายทรัพย์ ซึ่งอยู่ใกล้กับสำนักสงฆ์เขาปรง หมู่ 6ต.หนองบ่อ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรีว่า มีกลุ่มชาวบ้านอีกหมู่บ้านหนึ่งบุกเข้ามาทุบทำลายประตูกักเก็บน้ำพังเสียหาย ภายหลังรีบเดินทางไปตรวจสอบพบนายวสันต์ วิสัยชนม์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2ต.หนองบ่อ

โดยนายบุญธรรม โสดา ผช.ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6ต.หนองบ่อ และนายสมัย บุตรโชติ สอบต.ต.หนองบ่อ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เล่าให้ฟังว่าก่อนหน้านี้มี นายชัยยงค์ สีนวล หัวหน้าชุดคุมคนงานสำนักชลประทานหัววัง นำชาวบ้านมากกว่า 10 คน จากหมู่บ้านหนองยายทรัพย์ ต.สระยายโสม อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ท้ายคลองส่งน้ำ เข้ามาใช้ค้อนปอนด์ และอุปกรณ์เครื่องทุ่นแรงนานาชนิด ช่วยกันทุบทำลายประตูระบายน้ำ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หัวจรวด จนแนวสั้นกำแพงได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งเห็นเหตุการณ์ระบุว่า พวกตนไม่กล้าเข้าไปขัดขวางเกรงว่าจะถูกทำร้าย จึงรีบแจ้งข่าวให้สื่อ และหน่วยงานเกี่ยวข้องรีบเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว

โดยนายชัยยงค์ หัวหน้าคนงานอ้างว่า มีหนังสือสั่งการ และรับคำสั่งจากนายสุเมธ สุวรรณประเสริฐ หน.ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา (ส.บ.ค.บ.) สำนักชลประทานหัววัง ให้นำชาวบ้านหนองยายทรัพย์ มาทุบประตูน้ำดังกล่าวทิ้ง เนื่องจากประตูดังกล่าวไม่มีประโยชน์ และทำให้ชาวบ้านบ่อปั้น และชาวบ้านหนองยายทรัพย์ที่อยู่ท้ายน้ำไม่มีน้ำใช้ อีกทั้งยังบอกว่าจะขอรับผิดชอบเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว

อย่างไรก็ตามเมื่อชาวบ้านในพื้นที่ขอดูหนังสือสั่งการดังกล่าว ปรากฏว่านายชัยยงค์ปฏิเสธไม่ให้ดู ทำให้ชาวบ้านแจ้งตำรวจ สภ.ทุ่งคอก ว่ามีการทุบทำลายประตูน้ำ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินจนได้รับความเสีย ทำให้กลุ่มนายชัยยงค์ที่มาก่อเหตุเห็นท่าไม่ดี พากันขึ้นรถยนต์กระบะขับหนีไปทันที ด้านนายวสันต์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยทุบประตูน้ำนั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด เพราะทางชลประทานควรหมั่นตรวจสอบประตูระบาย ข้างคลองส่งทั้ง 2 ฝั่ง ซ้ายขวาที่ชำรุด หรือขาดหายไปให้มีสภาพสมบูรณ์ปกติก็จะสามารถควบคุมปริมาณน้ำในคลองส่ง เพื่อไม่ให้ไหลออกไปในที่ซึ่งไม่จำเป็นได้ ชาวบ้านท้ายคลองก็จะมีน้ำใช้ ถ้าชลประทานไม่มีงบประมาณ ก็ขอให้แจ้งผู้นำชุมชนจัดหาน้ำมาให้ ดีกว่าไปนำชาวบ้านไปทุบทรัพย์สินของทางราชการ ทั้งยังเป็นการสร้างความแตกแยกให้ชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านอีกด้วย.

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/regional/384333

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank