ฤทธิ์นกเตนส่อหนักเหนือ อีสาน อ่วม

Monday, 01 August 2011 Read 1119 times Written by 

1_8_2011_3

ฝนตกหนักน้ำท่วมหนัก สองแควมิดหัวหลังน้ำป่าหลาก 6 หมู่บ้านถูกตัดขาด เชียงใหม่ สันกำแพง –ยังเบาะๆแค่หัวเข่า ลับแล วิกฤติชาวบ้านเตรียมอพยพ

หลังจากที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนระวังพายุโซนร้อน “นกเตน” ที่จะบุกถล่มประเทศเวียดนามตอนบนในคืนวันที่ 30 ก.ค. จากนั้นจะเคลื่อนตัวเข้าประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างในภาคเหนือ-อีสาน และภาคตะวันออก จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค-4 ส.ค.ตามที่เสนอข่าวให้ทราบนั้น ความคืบหน้าที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 1 ส.ค. ว่าที่ ร.ต.ปรีชา จินต์ธนาวัฒน์ เวรพยากรณ์อากาศ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ เปิดเผยว่า ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ราบลุ่มในภาคเหนือ ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งต่อไปอีก 1-2 วัน ภาคเหนือตอนบนมีฝนทั่วไป ร้อยละ 90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 28 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวนความเร็ว 15 - 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ปริมาณฝนตกสูงสุดวานนี้วัดได้ 115.0 มม.ที่ อ.เมือง จ.แพร่

ด้าน นายคมสัน สุวรรณอัมพา หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ หลังจากมีฝนตกหนักติดต่อกันทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีน้ำท่วมขัง 50 ซม. เนื่องจากระบายไม่ทัน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 50 หลังคาเรือน ทั้งนี้ยังมีรายงานน้ำท่วมเกิดขึ้นอีก ในต.สันปูเลย มีเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสารธารภัย(ปภ.)เชียงใหม่ เข้าทำการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแล้ว โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมโดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มอย่างต่อเนื่อง และได้เฝ้าระวังสถานการณ์ด้านอื่นๆ จากฝนที่ตกหนัก เช่น น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะในพื้นที่สูงหรือยอดดอยเช่นที่ อ.อมก๋อย อ.แม่แจ่ม ซึ่งได้ให้ทางมิสเตอร์เตือนภัยและเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละอำเภอ รายงานสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงจะได้รับมือได้ทันท่วงที

ด้าน จ.พิษณุโลก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้านได้แก่ วังม่วง น้ำกลุ่ม บ้านโป่งเบี้ย บ้านนาแฝด บ้านนาหิน บ้านโป่งสอง ที่อยู่ใน ต. น้ำกลุ่ม และ นครชุม ใน อ.นครไทย ถูกน้ำป่าจากเทือกเขา นครชุม ไหลบ่าเข้าท่วมสูง เกือบ 2 เมตร ทำให้หมู่บ้าน ถูกตัดขาดทันที โดยขณะนี้ชาวบ้านจำนวนกว่า 100 หลังคาเรือน ต้องอยู่กันอย่างลำบาก และ ยังมี แนวโน้มว่า น้ำป่าที่ไหลมาจากทางเทือกเขา นครชุม จะเพิ่มอีก ฝ่ายภาครัฐนำโดย นายพันธุ์ธนา ศิระวงษ์ นายอำเภอนครไทย นำกำลังเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร(อส.) จำนวนกว่า 20 นาย ขึ้นเรือท้องแบนออกให้ความช่วยเหลือชาวบ้านแล้ว มีการอพยพ หรือ ลำเลียงผู้คนมาอาศัยอยู่ที่โรงเรียนนครชุมพิทยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือ

ส่วนสถานการณ์ที่ จ.อุตรดิตถ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น้ำป่าจากเขาป่าสงวนแห่งชาติห้วยเกียงพา ห้วยน้ำไคร้ เขตอ.เมืองอุตรดิตถ์ ตอนนี้ได้ไหลเข้าสู่คลองน้ำริด ทำให้กระแสน้ำสูงขึ้นเลื่อยๆ ชาวบ้านหมู่ที่ 1, 2 ,3 , บ้านน้ำริดเหนือ และบ้านน้ำริดใต้ และหมู่ที่ 7 ต.น้ำริด รวมทั้งหมู่ที่ 4,5,6 บ้านชายเขา ต.ด่านนาขามอ.เมืองเช่นกัน ทั้งนี้ปริมาณกระแสน้ำที่ไหลจากคลองเดียวกันเพิ่มระดับสูงขึ้นตลอดเวลา ทำให้ ชาวบ้านไม่ไว้ใจ ได้มาเฝ้ายืนดูระดับน้ำที่คลองเพื่อจะได้อพยพได้ทันด้าน อ.ทองแสนขัน ตอนนี้กระแสน้ำยังคงที่สูงประมาณ 1 เมตร หลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทหารจากค่าย ป.พันที่ 20 หน่วยกู้ภัยมูลนิธิอุตรดิตถ์สงเคราะห์ พร้อมแกนนำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่เขต อ.ทองแสนขัน ได้ร่วมกันนำเรือท้องแบน ขนย้ายคนชรา เด็ก และสตรีที่มีทารกอายุ 4 เดือนออกมาจากพื้นที่ที่น้ำกำลังเข้าท่วม สำหรับพื้นที่ของอำเภอทองแสนขันที่ประสพอุทกภัยมีตำบลบ่อทอง ตำบลผักขวง ตำบลแสนขัน บ้านท่าช้าง บ้านวังปลากด ที่ระดับน้ำยังสูงอยู่

ขณะที่ จ.หนองคาย หลังจากเกิดน้ำท่วมทั้งจังหวัดอย่างหนัก สภาพอากาศในตัวเมืองหนองคาย ยังมืดครึม มีฝนตกปรอย ๆ ตลอดเวลา โดยระดับน้ำที่ท่วมขังที่ ถนนประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจ ได้ลดลงต่ำเหลือประมาณ 20 ซม. ประชาชนและเจ้าของร้านค้าเริ่มเก็บกวาดทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนและร้านค้า ส่วนรอบ ๆ ด้านนอกโดยเฉพาะชุมชนดอนมน และ ชุมชนมีชัย ยังมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนอยู่ เนื่องจากเทศบาลได้ปิดประตูน้ำไม่ให้ไหลเข้าไปในตัวเมืองอีก

ด้าน นายทรงพล โกวิทศิริกุล นายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย เปิดเผยว่า เทศบาลได้เร่งสูบน้ำออกจากตัวเมืองตลอด 24 ชม. ขณะนี้ระดับน้ำที่ ถ.ประจักษ์ศิลปาคม ลดลงเหลือประมาณ 15 ซม. ส่วนสาเหตุการท่วมครั้งนี้ เนื่องมาจากมวลน้ำที่มีจำนวนมากจาก ตอนนี้ได้ปิดประตูน้ำเพื่อยันไม่ให้น้ำไหลที่ต่างไหลเข้าตัวเมือง คาดว่าจะสามารถระบายน้ำออกจาก ถ.ประจักษ์ศิลปาคม ได้ทั้งหมดภายในวันนี้ซึ่งจะได้ประสานงานไปยังการไฟฟ้า ให้ปล่อยกระแสไฟฟ้าสาธารณะด้วย ส่วนการปิดโรงเรียน มีเพียงโรงเรียนเทศบาล 1และ 4ที่ต้องทำการปิดอีก 1 วันเท่านั้น

ที่ จ.แพร่ สถานการณ์น้ำในแม่น้ำยมปรากฏว่าเริ่มล้นฝั่งแล้วส่งผลกระทบให้หมู่บ้านต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ติดริมตลิ่งได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยนายชวน ศิรินันท์พร ผวจ.แพร่ได้เรียกประชุมเพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือพายุนกเตน และสั่งให้ทุกกท้องที่ออกสำรวจความเสียหาย ปรากฏว่ามีตำบลต่าง ๆ ในเขต อ.เมือง อาทิเช่น ต.แม่ยม ต.ทุ่งกวาง ต.ท่าข้าม ต.ป่าแมต และ ต.เวียงทอง อ.สูงเม่น ซึ่งน้ำนี้จะสร้างความเสียหายต่อไปจนถึง อ.วังชิ้น ก่อนไปยัง จ.สุโขทัย และหลายหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองแพร่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมแล้ว รายงานข่าวแจ้งว่า ระดับน้ำในแม่น้ำยมตอนนี้ ยังคงเพิ่มปริมาณสูงขึ้นเรื่อยโดยปริมาณน้ำวัดได้ 9.20 เมตร และมีโรงเรียนใน จ.แพร่ประกาศหยุดเรียน 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนเทพพิทักษ์วิทยาและโรงเรียนเจริญศิลป์ สถานการณ์น้ำตอนนี้ยังคงต้องเฝ้าระวังโดยเฉพาะในแม่น้ำยม ส่วนแม่น้ำสาขาเช่นห้วยแม่แคม ห้วยแม่ก๋อน – แม่สาย ห้วยแม่คำมี ตอนนี้ปริมาณน้ำปกติแล้ว อย่างไรก็ตามมีรายงาข่าวว่าเกิดดินถล่มที่หมู่บ้านแม่ลัว อ.เมือง ตัดขาดชาวบ้านไม่สามารถลงมาจากหมู่บ้านได้.

ขอขอบคุณ http://www.dailynews.co.th 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank