แล้ง'สกลนคร'น่าเป็นห่วง! 'น้ำในเขื่อน'ลดลงต่อเนื่อง

Tuesday, 19 January 2016 Read 791 times Written by 

19 01 2016 1
แล้ง 'สกลนคร' น่าเป็นห่วง! 'น้ำในเขื่อน'ลดลงต่อเนื่อง สถานการณ์ภัยแล้งใน จ.สกลนคร เริ่มน่าเป็นห่วง หลังน้ำในเขื่อนต่างๆลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่ามีเกษตรกรฝืนปลูกข้าวนาปรังนับร้อยไร่

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ภัยแล้งใน จ.สกลนคร ว่า ในขณะนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากปัจจุบันมีอ่างเก็บน้ำภายใน จ.สกลนคร ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าครึ่งของความจุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกร สำหรับในเขตพื้นที่ชลประทานน้ำอูน ได้ทำการเพาะปลูกไปแล้ว 2,282 ไร่ แยกเป็นนาปรัง 173 ไร่ พืชไร่ 380 ไร่ พืชผัก 628 ไร่ ไม้ยืนต้น 592 ไร่ อื่นๆ 432 ไร่ บ่อปลา 77 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.09 ของพื้นที่เป้าหมาย (8,423ไร่) ซึ่งเขื่อนน้ำอูนขณะนี้มีปริมาณน้ำร้อยละ 35.37 ของความจุเขื่อน ได้ปล่อยน้ำออกมาทางคลองส่งน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเป็นช่วงๆ

โดยแผนการส่งน้ำปลูกพืชฤดูแล้ง เริ่มตั้งแต่ 1 ธ.ค. 58 ถึง 15 มี.ค. 59 ระยะเวลาการส่งน้ำ 106 วัน ซึ่งจะส่งสัปดาห์เว้นสัปดาห์ พื้นที่เป้าหมาย 9,016 ไร่ แต่คาดว่าจะยังไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตรของเกษตรกรที่อยู่ในเขตชลประทานน้ำอูน ด้านชลประทานสกลนคร ได้มีการชี้แจงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 40 ของปริมาณความจุ ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด และให้งดการปลูกข้าวนาปรัง เพราะต้องใช้มากกว่าพืชอย่างอื่น หรือไม่ก็หันมาปลูกพืชไร่ที่ใช้น้ำน้อยแทน เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง หรืออ้อย เป็นต้น อีกทั้งยังให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำที่มีความจุน้อยกว่าร้อยละ 30 เพื่อแก้ไขและเตรียมการรับมือต่อไป.

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/regional/373787

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank