“อินทนนท์” คึกคัก! คนแห่ท้าลมหนาวดู “ฝนดาวตกเจมินิดส์” ส่งท้ายปี 58

Tuesday, 15 December 2015 Read 730 times Written by 

15 12 2015 3

วันนี้ (15 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บนดอยอินทนนท์ จุดสูงสุดแดนสยามเมื่อคืนที่ผ่านมา (14 ธ.ค.) มีผู้คนเดินทางไปร่วมกิจกรรม “เปิดฟ้า...ตามหาดาว” ที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) จัดขึ้นกันเป็นจำนวนมาก เพื่อรอชมฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ ส่งท้ายปี 2558 ท่ามกลางลมหนาวที่พัดโชยตลอดเวลา

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในช่วง 14-17 ธันวาคมของทุกๆ ปีจะเกิดปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” หรือ “ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่”

โดยปีนี้จะสังเกตเห็นฝนดาวตกเจมินิดส์ได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำหลังดวงจันทร์ลับขอบฟ้า หรือตั้งแต่เวลาประมาณ 20.30 น. ของคืนวันที่ 14 ธันวาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 15 ธันวาคม และคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง มีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ ระหว่างดาวพอลลักซ์ กับดาวคาสเตอร์ สามารถมองเห็นได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเห็นได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

วิธีการชมฝนดาวตกให้สบายที่สุดนั้นอาจใช้วิธีนอนรอชมหรือนั่งบนเก้าอี้ที่สามารถเอนนอนได้เพื่อไม่ให้เกิดอาการเมื่อยคอเนื่องจากใช้ระยะเวลายาวนาน และในช่วงเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่มีอากาศหนาว ควรเตรียมอุปกรณ์กันหนาวให้พร้อม และเตรียมยาทากันยุงไว้ด้วย

ดร.ศรัณย์กล่าวเพิ่มเติมว่า และนอกจากฝนดาวตกเจมินิดส์แล้วยังมีฝนดาวตกชุดอื่นให้ชมกันอีก เช่น ฝนดาวตกพัพพิดส์-เวลิดส์ ในคืนวันที่ 9 ธันวาคม อัตราการตก 15 ดวงต่อชั่วโมง และฝนดาวตกเออร์ซิดส์ ในคืนวันที่ 22 ธันวาคม 2558 อัตราการตก 10 ดวงต่อชั่วโมง ฯลฯ ถือเป็นเดือนส่งท้ายปีที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ฝนดาวตกเป็นอย่างยิ่ง

ฝนดาวตกเจมินิดส์เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอนทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวเคราะห์น้อยจะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม (fireball)

ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือเป็นดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุดจุดหนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรือใกล้เคียงกับกลุ่มดาวอะไร ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ หรือดาวที่อยู่ใกล้กลุ่มดาวนั้น เช่น ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต เป็นต้น

Credit : http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000137382

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank