ภัยแล้งโคราชปีหน้าวิกฤต 'เขื่อนลำแชะ' น้ำไม่พอส่งลำน้ำมูล

Wednesday, 07 October 2015 Read 780 times Written by 

07 10 2015 2

ชลประทานเมืองโคราชคาดภัยแล้งปีหน้าเข้าขั้นวิกฤต เขื่อนลำแชะน้ำไม่พอส่งช่วยพื้นที่ลำน้ำมูลด้านท้าย เตือนประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด วันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 11:13 น. เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิพัฒน์ นิ่มเจริญนิยม หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำ และปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำมูลบนลำแชะ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องจากพายุ และมรสุมที่พัดเข้ามาในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ในช่วงนี้ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนลำแชะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดปริมาณน้ำดิบอยู่ที่ 93 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุทั้งหมดที่ 275 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุ ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่ดีพอสมควร แต่อย่างไรก็ตามหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถือว่าปริมาณน้ำยังต่ำ นายพิพัฒน์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้คาดว่าจะยังมีพายุพัดเข้ามาอีก 1 ลูก ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำภายในเขื่อนได้อีก แต่ประเมินว่าน่าจะได้ไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์ของความจุ ทำให้เขื่อนมีน้ำไม่พอให้ชาวนาในเขตชลประทานที่อยู่ท้ายเขื่อนทำนาปรังอย่างแน่นอน เนื่องจากต้องสงวนน้ำไว้ให้ประชาชนใช้อุปโภค – บริโภคเป็นหลัก นอกจากนี้ปริมาณน้ำที่มีอยู่ค่อนข้างน้อยยังส่งผลให้เขื่อนลำแชะไม่สามารถที่จะส่งน้ำสนับสนุนการอุปโภค-บริโภคนอกเขตความรับผิดชอบที่อยู่ปลายลำน้ำมูล เช่น อ.โชคชัย เฉลิมพระเกียรติ และ อ.พิมายได้ เพราะทางเขื่อนมีปริมาณน้ำเพียงพอแค่การดูแลพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตัวเองเท่านั้น ดังนั้นจึงอยากฝากให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งอย่างจริงจัง หากจุดใดพอจะกักตุนน้ำไว้ได้ให้รีบกักตุนไว้ในช่วงที่ยังมีฝนตก และมีปริมาณน้ำอยู่ในลำน้ำธรรมชาติ.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/regional/352553

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank