เผยน้ำในเขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยายังวิกฤติ

Monday, 06 July 2015 Read 801 times Written by 

06 07 2015 3

เผยน้ำในเขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยายังวิกฤติ กรมชลประทานเผยเริ่มมีน้ำไหลเข้าเขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาแล้ว แต่ยังวิกฤติ เตรียมประชุมคณะอนุกรรมการน้ำ 10 หน่วยงาน ทบทวนแผนปล่อยน้ำรับมือแล้งนาน

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม 2558 เวลา 18:27 น. เมื่อวันที่ 5 ก.ค. นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มมีน้ำไหลเข้าเขื่อนหลักในลุ่มเจ้าพระยาบ้างแล้ว ทั้งกรณีของเขื่อนภูมิพลซึ่งมีน้ำไหลเข้าเขื่อนประมาณ 2.1 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) เขื่อนสิริกิติ์มีน้ำไหลเข้าเขื่อนประมาณ 39 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนมีน้ำไหลเข้าเขื่อน 1.9 ล้านลบ.ม. ยกเว้นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่ยังไม่มีน้ำไหลเข้าเขื่อนเลย อย่างไรก็ตาม แม้น้ำในเขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาจะมีน้ำไหลเข้ามา แต่ยังถือว่าสถานการณ์อยู่ในช่วงวิกฤต เพราะปริมาณน้ำยังต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยมาก ด้านศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลักที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ล่าสุดมีปริมาณน้ำใช้การได้ 757 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ4 เท่านั้น โดยมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างรวมกันวันละ 7 ล้านลบ.ม. นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ในส่วนบริหารจัดการน้ำจะเน้นส่งน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่ออุปโภคบริโภคและการรักษาระบบนิเวศน์ผลักดันน้ำเค็มเป็นหลัก ซึ่งปริมาณน้ำที่มีอยู่เพียงพอใช้ไปจนถึงเดือนส.ค.ซึ่งจะตรงกับช่วงที่เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ไว้ สำหรับการช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรที่ทำนาปีไปแล้ว 4.3 ล้านไร่ หลังจากที่มีการประกาศชะลอปลูก จำนวน 3.44 ล้านไร่ กรมชลประทาน พยายามดูแลการส่งน้ำจัดรอบเวรให้อย่างทั่วถึงในพื้นที่ปลายคลองส่งน้ำที่เป็นที่ดอน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการขุดบ่อบาดาลและบ่อตอกน้ำตื้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้กรมชลประทานได้วางแผนการใช้น้ำไปจนถึงฤดูแล้งปี 2558-2559 ต่อเนื่องจนฤดูฝนปี 2559 โดยสำรองไว้เพื่อการอุปโภคบริโภค จำนวน 1,100 ล้านลบ.ม. และรักษาระบบนิเวศน์ จำนวน 1,000 ล้านลบ.ม. คำนวณเป็นปริมาณน้ำที่จะต้องสำรองไว้ใช้ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝนปีหน้า เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,500 ล้านลบ.ม. "ขอให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อลดผลกระทบจากสภาวะการขาดแคลนน้ำรุนแรงที่อาจเกิดในอนาคต ขณะเดียวกันในสัปดาห์นี้ คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ ประกอบด้วย 10 หน่วยงานเกี่ยวข้องเรื่องน้ำ จะประชุมเพื่อประเมินสภาพอากาศ แนวโน้มฝน และปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน เพื่อสรุปให้ครม.ตัดสินใจในกรณีทบทวนแผนการจัดสรรน้ำได้ทันสถานการณ์ในช่วงเดือน ก.ค.และส.ค.นี้"นายสุเทพ กล่าว.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/regional/332830

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank