ผู้ว่าฯปัตตานีลุยตรวจน้ำท่วมหวั่นระดับสูงขึ้น

Monday, 22 December 2014 Read 690 times Written by 

22 12 2014 4

เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ปัตตานีว่า มวลน้ำมหาศาลขณะนี้ยังไม่คลี่คลาย เนื่องจากน้ำจาก จ.ยะลา ได้ระบายลงสู่แม่น้ำปัตตานี รวมกับน้ำป่าไหลหลากที่ไหลผ่านเมืองปัตตานีเพื่อระบายออกสู่ทะเลประกอบน้ำทะเลหนุนทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานีเพิ่มสูงขึ้นจนล้นตลิ่งเข้าท่วมเขตเทศบาลเมืองปัตตานีทั้งในแขตต.จะบังติกอ,ต.สะบารัง และต.อาเนาะรูบางส่วน ท้ังนี้นายวีระพงศ์ แก้วสุวรรณ ผวจ.ปัตตานี พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยม และสำรวจกรณีที่เกิดเหตุน้ำท่วมในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองปัตตานี โดยเฉพาะพื้นที่ ต.จะบังติกอ บริเวณถนนหลังวัง ถนนหน้าวัง ถนนจะบังติกอ ถนนสันติสุข ถนนยะหริ่ง ระดับน้ำ 50 ซม. โดยในหมู่บ้านระดับน้ำสูงถึง 2 เมตร ชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 100 ครัวเรือน และในหมู่บ้านต้องใช้เรือเป็นยานพาหนะ ส่วนถนน ต.สะบารัง หลังเทศบาล 4 และโรงอ่าง ที่อยู่ริมแม่น้ำปัตตานี มีระดับน้ำ 50 ซม. ส่งผลให้ชาวบ้านในเขตเทศบาลเมือง ได้รับความเดือดร้อน

อย่างไรก็ตามทาง ผวจ.ปัตตานี้ ยังได้สั่งการให้การไฟฟ้า ดูแลสำรวจเรื่องกระแสไฟฟ้าที่จมอาจจะเกิดไฟฟ้าลัดวงจร พร้อมทั้งจัดข้าวสาร อาหารแห้ง ไปแจกจ่ายไว้เบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้จังหวัดปัตตานี ได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว 8 อำเภอ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ติดกับริมแม่น้ำปัตตานี และ แม่น้ำสายบุรี มีมวลน้ำจำนวนมากไหลมาจากตอนบน จากจังหวัดยะลา และนริวาสและไหลผ่านเพื่อระบายลงสู่ทะเล ปัตตานีจึงเป็นที่รองรับน้ำ เมื่อน้ำจากตอนบนลดลง ปัตตานีจะท่วมหนัก

"สิ่งที่น่าห่วงหลังจากนี้คือหากมีฝนตกลงมาอีก ประกอบกับน้ำทะเลหนุน อาจจะทำให้น้ำท่วมสูงได้ เพราะมวลน้ำยังมีอีกมาก ชาวบ้านริมน้ำ ต้องระมัดระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่วนย่านเศรษฐกิจใจกลางเมืองนั้น น้ำเริ่มเพิ่มขึ้นแล้ว และถ้าท่วมมาก จะส่งผลด้านเศรษฐกิจเกิดความเสียหายได้เป็นวงกว้างได้" นายวีระพงศ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในพื้นที่รอบนอก ต.ตะลูโบ๊ะ ต.ปะกาฮารัง ต.ปะกาฮารังอ.เมือง ปัตตานี เป็นพื้นที่ราบลุ่ม และติดติมแม่น้ำปัตตานี เป็นพื้นที่ซ้าซากที่มีน้ำท่วม ขณะนี้ท่วม 4 วันแล้ว ทำให้ชาวบ้านเริ่มเดือดรอ้น กว่า 3 พันกว่าครัวเรือน ส่วนที่อพยพกว่า 50 ครัวเรือน ไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้ ขณะที่ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับมีน้ำไหลเชี่ยวกราด แบ่งจุดมีความสูงกว่า 2 เมตร ถนนทุกเส้นทางถูกตัดขาด ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ต้องใช้เรือเป็นยานพาหนะแทน เช่นเดียวกับ อ.ยะรัง อ.สายบุรี อ.หนองจิก อ.แม่ลาน และ อ.โคกโพธิ์ บางส่วนมีน้ำท่วมเช่นกัน และกำลัง ลดลง มวลน้ำมากองอยู่ที่เมืองปัตตานี

สรุปพื้นที่ประสบภัยจากอุทกภัย รวมทั้งหมด 8 อำเภอ 41 ตำบล 157 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 9,634 ครัวเรือน 363,542 คน โรงเรียนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ลำคลอง ถูกน้ำท่วมต้องหยุดการเรียนการสอนชั่วคราวประมาณ 10 โรงเรียน ส่วนถนนสาย 418 ปัตตานี-ยะลา ยังไม่สามารถสัญจรไปมาได้ เนื่องจากมีย้ำท่วมสูง 50-70 ซม.ระยะทางประมาณ2กิโลเมตร ต้องเลี่ยงใช้เส้นทาง สาย 410 ปัตตานี-ยะลาแทนเพื่อความปลอดภัย ซึ่งทหารได้จัดรถยนต์ลาดตระเวณบริเวณเส้นทางสาย418ยะลา-ปัตตานี คอยให้ความช่วยเหลือประชาชน บริเวณที่ถูกน้ำท่วม และบริเวณที่มีแนวโน้มน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง.

Credit : http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank