ชลประทานเร่งผันน้ำหลังภัยแล้งมาเร็ว

Wednesday, 17 December 2014 Read 689 times Written by 

17 12 2014 3

เมื่อเวลา11.00 น.วันที่ 16 ธ.ค. นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำของเชียงใหม่ขณะนี้น่าเป็นห่วงอย่างมาก เนื่องจากน้ำในลำน้ำแม่ปิงแห้งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งตามกำหนดการที่วางไว้จะเริ่มปล่อยน้ำจากเขื่อนแม่กวงอุดมธาราไหลลงในลำน้ำแม่ปิง ในวันที่ 15 ม.ค. 58 แต่ขณะนี้น้ำในลำน้ำแม่ปิงเหลือน้อยมากจึงต้องเปลี่ยนแปลงกำหนดในการปล่อยน้ำให้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำการปล่อยน้ำในเร็วๆ นี้ก่อนที่น้ำในแม่น้ำปิงจะเน่าเสีย เพราะปริมาณน้ำมีน้อย โดยปัจจุบันน้ำในเขื่อนแม่กวงอุดมธาราอ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เหลือเพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นหากปล่อยลงแม่น้ำปิงเป็นเวลา 3 วันจะช่วยให้สภาพน้ำดีขึ้นได้ โดยจะปล่อยในอัตรา 12 ล้าน ลบ.ม.ต่อวินาที รวมน้ำที่ใช้ทั้งหมดประมาณ 2.4 ล้าน ลบ.ม.แต่ทั้งนี้น้ำที่มีอยู่ จะใช้สำหรับด้านอุปโภค บริโภคเป็นหลักส่วนการปล่อยน้ำเพื่อปลูกพืชทางการเกษตรนั้น จะส่งให้กับพืชไม้ผลเท่านั้นส่วนการปลูกข้าวต้องขอให้งด เพราะน้ำมีไม่เพียงพอ

ส่วนเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำอยู่ 71 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน้ำในเขื่อนที่มีอยู่ จะปล่อยให้ทำการเกษตรการปลูกข้าวในพื้นที่ อ.แม่แตง เป็นหลักดังนั้นจึงไม่เกิดปัญหาสำหรับการปลูกข้าวในพื้นที่ อ.แม่แตงเพราะถือว่า เป็นแผนปฏิบัติที่ทำมาทุกปี ส่วนสาเหตุที่น้ำในเขื่อนเหลือน้อยนั้นเนื่องจากในระยะ 2 ปีนี้ไม่เกิดพายุลูกใหญ่ในพื้นที่เลย ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำในเขื่อนได้ตามที่ต้องการจึงเหลือน้ำในเขื่อนเหลือปริมาณน้อย ดังนั้นการจัดสรรน้ำก็จะต้องทำตามระบบที่วางไว้ เพื่อให้เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค เป็นหลักก่อนและต้องขอให้เกษตรกรนั้นช่วยลดพื้นที่การปลูกข้าวในเขตพื้นที่เสี่ยงที่เป็นเส้นทางปลายน้ำ และควรหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนเพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำด้วย.

Credit : http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank