เตือนชาวนาแห่สูบน้ำทำนาปรัง

Tuesday, 04 February 2014 Read 658 times Written by 

04 02 2014 2

เมื่อวันที่ 3 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาในพื้นที่ อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ซึ่งมีที่นาอยู่ติดกับลำน้ำลำพระเพลิง ต่างพากันเร่งสูบน้ำภายในลำน้ำเพื่อนำขึ้นมาเตรียมแปลงนาและตกกล้าเพื่อเริ่มต้นฤดูการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ส่งผลให้น้ำภายในลำน้ำลำพระเพลิงเริ่มแห้งขอดเป็นช่วงๆ  โดยเฉพาะลำน้ำช่วงที่ไหลผ่านบ้านพะโค หมู่ที่ 11 ต.กระโทก อ.โชคชัย ระดับน้ำลดต่ำลงจนขาดช่วง เกษตรกรส่วนหนึ่งต้องนำเครื่องสูบน้ำมาช่วยกันสูบน้ำจากลำน้ำช่วงที่ขาดตอนไปให้อีกฝากเพื่อให้ยังพอมีน้ำเหลือส่งไปยังลำน้ำด้านท้าย

นายประเทือง วันดี หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง เปิดเผยว่า ถึงแม้ว่าขณะนี้เขื่อนลำพระเพลิง ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำน้ำลำพระเพลิง จะมีปริมาณน้ำกักเก็บเกินกว่าร้อยละ 95 ของความจุกักเก็บทั้งหมดที่ 110 ล้าน ลบ.ม. ก็ตามแต่ก็ยังไม่สามารถที่จะทำการปล่อนน้ำเพื่อให้เกษตรกรในเขตชลประทานเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกข้าวนาปรังได้

เนื่องจากได้มีการประชุมตกลงกันกับหน่วยงานราชการ ภาคเอกชนและตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้น้ำแล้วว่า จะเริ่มปล่อยน้ำให้เกษตรกรได้ทำนาปรังพร้อม ๆ กันในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ แต่เกษตรกรบางส่วนซึ่งอยู่ทั้งในและนอกเขตชลประทาน ที่มีที่นาติดกับลำน้ำต้องการเพาะปลูกข้าวนาปรังเร็วขึ้น จึงพากันทำสูบน้ำจากลำน้ำมาเตรียมแปลงมากเป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่าเขื่อนลำพระเพลิงมีน้ำมากพอ ส่งผลให้ปริมาณน้ำภายในลำน้ำแห้งขอดอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้อยากฝากเตือนไปยังเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ไม่ควรเสี่ยงที่จะทำการปลูกข้าวนาปรังเพราะถึงแม้ว่าเขื่อนจะมีน้ำอยู่ในปริมาณที่มาก แต่ก็ไม่สามารถที่จะส่งน้ำให้กับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตได้ ทำได้เพียงส่งน้ำลงลำน้ำธรรมชาติเพื่อการรักษาระบบนิเวศน์เท่านั้น และแผนการส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ก็ได้มีการประชุมตกลงกันแล้วเฉพาะในเขตชลประทานเท่านั้น ดังนั้นเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชเหนือแผนที่วางไว้จะต้องรับผิดชอบตัวเอง

Credit : http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank