อุทกภัยถล่มแม่ฮ่องสอน 9 หมู่บ้านถูกตัดขาด

Thursday, 01 August 2013 Read 689 times Written by 

01 08 2013 2

เมื่อวันที่ 31 ก.ค.  นายสง่า  สสมัยษ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 สิวาเดอ  ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผย ภายหลังเดินทางออกจากหมู่บ้านสิวาเดอ มาถึง บ้านแม่สามแลบ  ใช้เวลากว่า 5 ชม. ระยะทาง 9  กิโลเมตร เป็นการเดินทางอย่างทุลักทะเลซึ่งต้องพากันมาหลายคน และ รถหลายคันเพื่อคอยช่วยเหลือกัน และ ตลอดเส้นทางต้องใช้จอบเปิดเส้นทางที่ดินสไลด์  ใช้มีดและเลื่อยตัดไม้ที่ล้มขวางทางกว่า 10 จุด ซึ่งเป็นเส้นทางระหว่างบ้านสิวาเดอ มา บ้านแม่สามแลบ  เพื่อมาแจ้งรายละเอียดความเสียหายเส้นทางให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) แม่สามแลบ ให้ได้รับทราบ ซึ่งขณะนี้ 9 หมู่บ้านที่ใช้เส้นทางดังกล่าว ต้องประสบปัญหาเส้นทางสัญจรมีดินสไลด์ปิดทับ ต้นไม้หักโค่นปิดขวางกว่า 10 จุด แต่มีเส้นทางที่ถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง คือเส้นทางระหว่างบ้านสิวาเดอ ไป บ้านห้วยแห้ง รถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ระยะทางกว่า 8 กิโลเมตร ที่ราษฏรต้องเดินทางเท้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากไม่มีราษฏรเจ็บไข้ได้ป่วยรุนแรงก็ไม่มีปัญหาอะไร ในส่วนการดำรงชีพก็เป็นไปตามวิถีของชาวเขาที่หากินได้ไม่ลำบาก แต่หากปล่อยเวลาเนินนานไป มีเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยหรืออุบัติเหตุอุบัติภัยร้ายแรง ชาวบ้านก็จะลำบากในการใช้เส้นทางคมนาคม จึงวอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเปิดเส้นทางให้สัญจรไปมาได้ตามปกติ     ในส่วนพื้นที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ฝนที่ตกมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ดินอุ้มน้ำจนชุ่ม ทำให้ต้นไม้ใหญ่หักโค่นหลายจุดเช่นที่ เส้นทางเข้าสู่สายแดนเสาหิน

ด้านนายไพบูลย์  ใจตูม ปลัดอำเภอฝ่ายป้องกัน ได้นำ เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร  พร้อมเลื่อยยนต์ออกตัดต้นไม้ที่หักโค่นปิดทับเส้นทาง เพื่อเปิดให้ราษฏรสามารถเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านชายแดนเสาหินได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามได้ประกาศแจ้งเตือนให้ทุกหมู่บ้านบนพื้นที่สูงเฝ้าระวัง และสังเกตพื้นที่โดยรอบที่มีไม้ใหญ่ เนื่องจากดินชุ่มน้ำรากไม้ตื้น หน้าดินเสื่อมสภาพ อาจทำให้โค่นล้มสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

Credit : http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank