เชียงใหม่แล้งแล้ว 15 อำเภอ วอนประชาชนใช้น้ำประหยัด

Tuesday, 19 March 2013 Read 586 times Written by 

19 03 2013 4

พล.ท.ปรีชา  จันทร์โอชา ผบ.กองบัญชาการเฉพาะกิจควบคุมไฟป่าและหมอกควัน กองทัพภาคที่ 3 กล่าวว่า จากการที่สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือมีคุณภาพอากาศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมากขึ้น กองบัญชาการเฉพาะกิจควบคุมไฟป่าและหมอกควัน กองทัพภาคที่ 3 ได้กำชับหน่วยทหารและชุดปฏิบัติการควบคุมไฟป่าและหมอกควัน กองทัพภาคที่ 3 ในจังหวัดเชียงใหม่ 14 ชุดปฏิบัติการ ออกเคลื่อนไหวรณรงค์ประสานงานการป้องกันเพื่อสนับสนุนการดับไฟป่าเบื้องต้น รวมทั้งใช้กำลังชุดดับไฟป่า 100 ชุดปฏิบัติการ จากหน่วยทหารในพื้นที่ 9 จังหวัด สนับสนุนการดับไฟให้แก่หน่วยงานในระดับท้องถิ่น ตามที่ได้รับการร้องขอ  ทั้งนี้หากสถานการณ์มีความรุนแรงกำหนดให้ใช้กำลังกองร้อยช่วยเหลือประชาชนจากหน่วยทหารเข้าสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามแผนบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพภาคที่ 3 อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้ขอความร่วมมือทางสถานีวิทยุในเครือกองทัพภาคที่ 3 จำนวน 19 สถานี รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการงดการเผาป่า เผาเศษวัชพืช เผาขยะที่ย่อยสลายยาก พร้อมรณรงค์สร้างความชุ่มชื้นด้วยการรดน้ำให้กับต้นไม้และฉีดพ่นน้ำบนถนนในหมู่บ้าน เพื่อลดสภาวะหมอกควันและสร้างความชุ่มชื้นให้อากาศ นอกจากนี้ทางกองทัพภาคที่ 3 ก็ได้ใช้มาตรการ 4 มาตรการประกอบด้วย มาตรการการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึก มาตรการการเข้าเวรยามเฝ้าระวังลาดตระเวน  และการเตรียมพร้อมดับไฟในสถานการณ์รุนแรง  พร้อมกำชับให้แพทย์ พยาบาลในโรงพยาบาลในค่ายทหาร 9 จังหวัดภาคเหนือ ลงพื้นที่ดูแลสุขภาพร่ายกายของประชาชนในภาวะสภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นด้วย

ด้านนายคมสัน สุวรรณอัมพา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สำหรับสภาวะอากาศและปริมาณน้ำฝนในระยะนี้ ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ยังติด 1 ใน 38 จังหวัดที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเรื่องฝนทิ้งช่วง หรือภัยแล้ง ซึ่งได้ประกาศพื้นที่ภัยแล้งไปแล้วจำนวน 15 อำเภอ จากทั้งหมด 25 อำเภอ มีอำเภออมก๋อย จอมทอง สะเมิง แม่แจ่ม สันป่าตอง ฮอด กัลยาณิวัฒนา ไชยปราการ สันกำแพง หางดง ดอยหล่อ แม่ออน แม่ริม เวียงแหง ดอยเต่า สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำนั้น จากข้อมูลของกรมชลประทาน ทราบว่าปริมาตรน้ำในอ่างขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีทั้งหมด 40,757 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 58 ของความจุอ่างเก็บน้ำทั้งหมด ซึ่งน้อยกว่าปี 2555 จำนวน 5,763 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่นั้นบริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำในอ่าง 91.128 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 34.6 เปอร์เซ็นต์ของความจุกักเก็บ สำหรับเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีน้ำในเขื่อน 112.69 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 44.19 เปอร์เซ็นต์ของความจุกักเก็บ ซึ่งถือว่าปริมาณน้ำนั้นน้อยกว่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ส่วนด้านสภาพอากาศที่รับรายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยาล่าสุดทราบว่า บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนบางแห่งในระยะนี้ สำหรับคลื่นกระแสลมตะวันตกจะเคลื่อนจากประเทศพม่าเข้ามาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงระยะวันที่ 18 - 20 มีนาคม ทำให้มีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ดังนั้นจึงได้มีการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาวาตภัย ที่จะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนไว้ ด้วยการจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

ด้านนายวุฒิชัย รักษาสุข ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า สำหรับปริมาณน้ำในอ่างของปีนี้ถือว่าน้อยกว่าปี 55 ที่ผ่านมา แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง สำหรับการจัดสรรน้ำในพื้นที่นั้น ในช่วงหน้าแล้งนี้จากเดิมได้เตรียมน้ำไว้ เพื่อให้เกษตรกรปลูกข้าว จำนวน 20,000 ไร่ แต่ปรากฏว่าปัจจุบันกลายเป็น 40,000 ไร่ เพราะเกษตรกรมีการขยายพื้นที่การปลูก ซึ่งทางโครงการส่งน้ำฯ ก็ได้เข้าไปพูดคุยกับทางเกษตรกรแล้ว เพื่อให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด เนื่องจากจะต้องส่งน้ำให้กับกลุ่มเกษตรกรวันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อเทียบกับน้ำอุปโภคและบริโภค ที่ใช้น้ำเพียงแค่วันละ 30,000 ลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ดังนั้นกลุ่มเกษตรกรก็ต้องให้ความร่วมมือด้วย เพราะหากใช้น้ำมากไป ก็จะเหลือน้ำในอ่างน้อย และจะไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าวนาปี และหากฝนทิ้งช่วงก็จะลำบากมากขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้ก็ได้เตรียมการไว้เช่นกัน หากเกิดฝนทิ้งช่วง ก็จะประสานทางศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เพื่อให้ช่วยทำฝนในการเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำให้มีน้ำมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้น้ำของประชาชน และเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูก ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูแล้ง หรือช่วงฤดูฝนก็ตาม ประชาชนและกลุ่มเกษตรกรก็ต้องร่วมมือกันในการประหยัดน้ำให้ได้มากที่สุด.

Credit: http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank