พายุโซนร้อนพัดถล่มฟิลิปปินส์ เสียชีวิตอย่างน้อย 7 คน

Thursday, 16 August 2012 Read 982 times Written by 

16 08 2012 1

ฟิลิปปินส์ถูกพายุโซนร้อนถล่มซ้ำอีก ขณะที่อิทธิพลจากมรสุมยังทวีความรุนแรง สร้างความเสียหายซ้ำเติมมหาอุทกภัยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วม และดินถล่ม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 คน

พายุโซนร้อนไค-ตั๊ก พัดขึ้นฝั่งที่จังหวัดอิสเบล่า ทางภาคเหนือของฟิลิปปินส์ ทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วม และดินถล่มในพื้นที่แถบเชิงเขา มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 คน และได้รับผลกระทบกว่า 20,000 คนใน 97 หมู่บ้าน ประชาชนอีกกว่า 2,500 คน ต้องอพยพเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิงของทางการ ขณะที่ผู้ขับขี่รถยนต์หลายคนต้องติดอยู่กลางน้ำ นอกจากนี้น้ำท่วมยังสร้างความเสียหายให้กับไร่ข้าวโพดในเมืองคากายาน ทำให้เกษตรต้องสูญเสียผลผลิตจำนวนมาก

อิทธิพลของพายุโซนร้อนไค-ตั๊ก ยังทำให้เกิดฝนตกหนักในกรุงมะนิลาและในจังหวัดใกล้เคียง ซ้ำเติมความเสียหายจากมหาอุทกภัยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 95 คน ไร้ที่อยู่อาศัยอีกหลายหมื่นคนและสร้างความเสียหายให้กับสาธารณูปโภค รวมทั้งพื้นที่ทางการเกษตรคิดเป็นมูลค่าถึง 1,718 ล้านบาท

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของฟิลิปปินส์รายงานว่าพายุโซนร้อนไค-ตั๊ก เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 17 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความเร็วลมสูงสุด 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนตัวออกจากฟิลิปปินส์ในวันนี้และจะมุ่งหน้าไปยังชายฝั่งทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน

ส่วนที่เขตไซบีเรียของรัสเซีย เกิดพายุลูกเห็บรุนแรงในเมือง "เมซดูเรเชนสค์" ในช่วงกลางฤดูร้อน โดยลูกเห็บที่ตกโปรยปรายราวกับฝนมีขนาดใหญ่กว่าไข่ไก่ มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 20 คนและรถยนต์ได้รับความเสียหากว่า 100 คัน ส่วนใหญ่ถูกลูกเห็บตกใส่จนกระจกหน้าและกระจกหลังแตก

เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาของรัสเซียระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดพายุลูกเห็บแบบทันทีทันใดในช่วงฤดูร้อนว่าเกิดจากการลดฮวบของอุณหภูมิจาก 32 องศาเซลเซียสในช่วงเวลากลางวัน ลงมาอยู่ที่ 16 องศาเซลเซียสในช่วงเย็น

ขอขอบคุณ http://news.thaipbs.or.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank