โลกร้อนเป็นเหตุ น้ำท่วมใหญ่ ในรอบศตวรรษ

Wednesday, 15 February 2012 Read 946 times Written by 

15_02_2012

เมื่อเดือน ส.ค.ปีที่ผ่านมาเฮอร์ริเคน “ไอรีน” ได้พัดถล่มในแถบแคริบเบียนจนถึงฝั่งตะวันออกของอเมริกา ความรุนแรงจัดอยู่ในอันดับ 3 ที่พัดตีระดับน้ำจนสูงขึ้นและก่อให้เกิดพายุซัดเข้าสู่ฝั่งและท่วมข้ามกำแพงกั้นฝั่งลึกเข้าสู่พื้นที่ด้านในห่างจากชายฝั่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านพายุหลายคนระบุว่า ผลกระทบที่ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้างนี้ทำให้เฮอร์ริเคนดังกล่าวเป็นภัยพิบัติในรอบ 100 ปี ที่ภายในหนึ่งศตวรษจะเกิดขึ้นเพียง 1 ครั้ง

หากแต่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) สหรัฐฯ และสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์หรือเอ็มไอที (MIT)พบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) จะทำให้เกิดพายุที่รุนแรงดังกล่าวจนเป็นเหตุดินถล่มถี่ขึ้น และยังเป็นสาเหตุให้เกิดพายุซัดเข้าสู่ฝั่งหรือสตอร์มเซิร์จ (storm surge) ที่รุนแรงทุกๆ 3-20 ปี

ทาง PhysOrg.com ระบุว่า ทางกลุ่มวิจัยได้จำลองพายุนับหมื่อลูกภายใต้สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน และพบว่าน้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้นทุก 500 ปี นั้นจะเกิดถี่ขึ้นทุก 25-240 ปี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพวกเขาได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยนี้ลงวารสารเนเจอร์ไคลเมตแชงจ์ (Nature Climate Change)

ทางด้าน ดร.นิง ลิน (Ning Lin) นักวิจัยหลังปริญญาเอกของเอ็มไอทีซึ่งเป็นหัวหน้าทีมในการศึกษาครั้งนี้กล่าวว่า การทราบถึงความถี่ของสตอร์มเซิร์จอาจช่วยนักวางแผนเมืองและชายฝั่งในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันภัยธรรมชาตดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น ซึ่งในการออกแบบเขื่อนหรือกำแพงป้องกันนั้นจำเป็นต้องทราบว่าเราควรจะสร้างให้มีความสูงเท่าไรเพื่อป้องกันน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นทุกๆ 20 ปี

ทั้งนี้ ดร.ลินและทีมวิจัยได้ใช้เหตุน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในนิวยอร์กเป็นกรณีศึกษา โดยพวกเขาได้ศึกษาแบบจำลองภูมิอากาศ 2 แบบ คือ การศึกษาภายใต้เงื่อนไขของภูมิอากาศปัจจุบันระหว่างปี 1981-2000 และเงื่อนไขของภูมิอากศในอนาคตระหว่างปี 2081-2100 ซึ่งเป็นการทำนายภายใต้การคาดการณ์ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change) หรือไอพีซีซี (IPCC) ซึ่งพวกได้พบว่ามีความถี่ที่จะเกิดพายุรุนแรงเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

สำหรับน้ำท่วมรุนแรงในรอบ 100 ปี คือ น้ำท่วมจากพายุที่สูงเฉลี่ย 2 เมตร ส่วนพายุรุนแรงในรอบ 500 ปีคือน้ำท่วมจากพายุซัดสูง 3 เมตร แต่เมื่อทีมวิจัยเพิ่มปัจจัยเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแบบจำลองแล้วพบว่า น้ำท่วมจากการซัดของพายุสูง 2 เมตรจะเกิดถี่ขึ้นทุกๆ 3-20 ปี ส่วนน้ำท่วมสูง 3 เมตรจะเกิดถี่ขึ้นทุก 25-240 ปี ซึ่ง ดร.ลินกล่าวว่า ในปี 1821 เกิดน้ำท่วมสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมืองนิวยอร์ก สหรัฐฯ โดยท่วมสูงถึง 3.2 เมตร และปัจจุบันยังเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบ 500 ปี

ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank