ธารน้ำแข็งที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต หดปีละ 7.8 เมตร

Friday, 18 November 2011 Read 1557 times Written by 

18_11_2011_1

ซินหวาเน็ต--หน่วยงานวิทยาศาสตร์ กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศจีน แถลงเมื่อวันที่ 16 พ.ย. เผยรายงานการประเมิน 'การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศครั้งที่สอง' ระบุจากช่วงปี 2494 ถึงปี 2552 อุณหภูมิเหนือพื้นดินประเทศจีน โดยเฉลี่ย เพิ่มสูง 1.38 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิสูงขึ้นในอัตรา 0.23 องศาเซลเซียสในทุก 10 ปี นอกจากนี้ ในแต่ปี ธารน้ำแข็งบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต หดหายไป 7.8 เมตร ระดับน้ำทะเลที่ชายฝั่งสูงขึ้นในอัตราปีละ 2.5 มิลลิเมตร

ทศวรรษที่ 90 ของศตวรตวรรษที่ 20 การสะสมของหิมะในแต่ละวันระหว่างช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิมีแนวโน้มลดลง และในช่วงหลังๆมานี้ ยังพบว่าธารน้ำแข็งบนNyainqentanglha Range หนึ่งในเทือกเขาสำคัญที่ตั้งอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกทิเบต เกิดการเปลี่ยนแปลงมาก ธารน้ำแข็งในเขต Naimona Nyi บนเทือกเขาหิมาลัยก็กำลังละลายตัวอย่างรวดเร็ว ระหว่างปี 2519-2549 ปลายธารน้ำแข็ง หดในอัตราโดยเฉลี่ยต่อปี ที่ประมาณ 5 เมตร โดยระหว่างปี 2547-2549 อัตราการหดตัวของธารน้ำแข็งเป็นไปอย่างรวดเร็วในอัตราเฉลี่ยปีละ 7.8 เมตร แสดงถึงแนวโน้มการหดตัวอย่างรวดเร็วมากขึ้นในระยะหลังมานี้

นักวิจัยศูนย์วิจัยสภาพภฒิอากาศแห่งประเทศจีน นาย หลัว หย่ง กล่าวว่า จากปี 2494 เป็นต้นมา สภาพอุณหภูมิสูง อุณหภูมิต่ำ ระดับน้ำลด และการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ตลอดจนสภาพอากาศที่รุนแรงอื่นๆ ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความรุนแรงมากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญยังได้ชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ทำให้เกิดกรณีสภาพอากาศที่รุนแรงบ่อยครั้งขึ้นนั้น ยังส่งผลต่อสุขภาพผู้คน และผลกระทบในด้านลบ และควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาสนใจลดการแพร่กระจายความร้อน ร่วมมือในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ low-carbon life

เนื่องจากภาวะโลกร้อน สภาพที่ธารน้ำแข็งบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตกำลังละลายอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจ บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเนือ ภาคกลาง และภูมิภาคอื่นๆในประเทศจีน ในช่วงเกือบ 50 ปี มานี้ มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้ส่งผลกระมบต่อผลผลิตการเกษตร พื้นดินเสียหายทำประโยชน์ไม่ได้และกลายสภาพเป็นดินเค็ม ทำให้เกิดการระบาดโรคพญาธิใบไม้ในเลือด โรคทางเดินลมหายใจและโรคระบาดอื่นๆ โดยอัตราการระบาดสูงมากขึ้น

บริเวณภาคใต้ ระดับผิวน้ำทะเลในทะเลใต้ สูงขึ้น จากปี 2536 ถึง 2549 ระดับผิวน้ำทะเลในทะเลใต้สูงขึ้นในอัตราเฉลี่ย 3.9 มิลลิเมตรต่อปี าสำหรับภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ ช่วง 40 ปี สุดท้ายของศตวรรษที่ 20 บนที่ราบสูงซื่อชวน (หรือเสฉวน) ที่ราบสูงอวิ๋นกุ้ย มีแนวโน้มอุณหภูมิสูงขึ้นๆอย่างชัดเจน อุณหภูมิในบริเวณที่ราบลุ่มเสฉวนมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน ปริมาณฝนตกในแต่ละวันก็น้อยลง

ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank