ลาวท่วมสาหัส 4 ระลอก ตาย 30 อีก 430,000 คนเดือดร้อน

Monday, 26 September 2011 Read 2148 times Written by 

26_9_2011_1

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ปีนี้ลาวประสบอุทกภัยหนักหน่วงที่สุด พายุ 2 ลูก กับฝนที่ตกหนักติดต่อกันตลอด 3 เดือน ทำให้เกิดน้ำท่วมถึง 4 ระลอก เหนือจรดใต้ พบผู้เสียชีวิตแล้ว 30 คน อีก 429,954 คน ได้รับผลกระทบโดยตรง ในขณะที่รัฐบาลกำลังระดมความเหลือช่วยเหลือราษฎรในแขวงเวียงจันทน์ ซึ่งน้ำท่วมมาตั้งแต่สัปดาห์กลางเดือนนี้

อุทกภัยครอบคลุม 96 เมือง (อำเภอ) ใน 12 แขวง (จังหวัด) รวมราษฎรได้รับผลกระทบโดยตรง 1,790 ครัวเรือน พื้นที่ทำการผลิต 64,472 เฮกตาร์ (กว่า 4 แสนไร่) ถูกน้ำท่วม เส้นทางคมนาคมเสียหายรวม 323 สาย สะพานถูกทำลายหรือได้รับความเสียหาย 42 แห่ง


นอกจากนั้น ยังมีโรงเรียน โรงพยาบาล ระบบไฟฟ้า น้ำประปา แหล่งท่องเที่ยว แหล่งพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมและการค้า สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ได้รับความเสียหายจำนวนมากเช่นกัน หนังสือพิมพ์ “กองทัพประชาชน” รายงานตัวเลขทั้งหมดนี้จากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีประจำเดือน ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 22-23 ก.ย.ที่ผ่านมา ในนครเวียงจันทน์


รัฐบาลได้สั่งการให้กระทรวงกับหน่วยงานต่างๆ เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบและซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหายให้คืนสู่สภาพปรกติโดยเร็วหนังสือพิมพ์ของกระทรวงป้องกันประเทศ กล่าว


ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ระดมการช่วยเหลือให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัยรวมเป็นเงินเกือบ 1,000 ล้านกีบ (กว่า 3.7 ล้านบาท) นอกจากนั้น ยังมีความช่วยเหลือจากภาคเอกชน สถานทูตบางประเทศ รวมทั้งองค์การระหว่างเทศและองค์การเพื่อการกุศลต่างๆ อีกจำนวนมาก


ฝนที่ตกหนักจากพายุไห่หม่าในปลายเดือน มิ.ย.ได้ทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรง น้ำป่าไหลหลาก ดินเลื่อนและดินถล่ม ใน 4 แขวงภาคกลางกับภาคเหนือ โชคดีที่ทีราษฎรอาศัยอยู่เบาบางในเขตที่เกิดภัยพิบัติ


เพียงข้ามสัปดาห์พายุนกเต็นได้พัดเข้าทำให้เกิดในตกและน้ำท่วมใหญ่อีกระลอก ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำสาขาแม่น้ำโขงต่างๆ เอ่อขึ้นสูงตั้งแต่แขวง เชียงขวาง ไซยะบูลี เวียงจันทน์ และนครเวียงจันทน์ ขอลิคำไซ และ คำม่วน ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำเพิ่มระดับขึ้นสูงในเวลาต่อมา ส่งผลกระทบรายทาง และเกิดน้ำท่วมสาหัสที่สุดในหลายเมืองของแขวงจำปาสักที่อยู่ตอนใต้สุดของแม่น้ำสายสำคัญนี้


ยังเกิดฝนตกต่อเนื่อง ติดต่อกันมาไม่หยุดและตกหนักติดต่อกันในช่วงวันที่ 17 ก.ย.ในแขวงเวียงจันทน์กับแขวงเชียงขวาง ซึ่งเป็นเขตป่าต้นน้ำ ทำให้ระดับน้ำในลำน้ำสาขาสูงขึ้นไม่หยุด ปัจจุบันยังคงเกิดน้ำท่วมกินบริเวณกว้างในหลายเมืองของแขวงเวียงจันทน์ ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.เป็นต้นมา สาหัสที่สุดในเขตเมืองทุละคม ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่


สัปดาห์ที่แล้ว นายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรี ได้นำคณะเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์สำรวจอาณาบริเวณน้ำท่วม และเยี่ยมเยือน แจกจ่ายส่งของบรรเทาทุกข์และมอบเงินเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยกว่า 1,300 หลังคาเรือน หนังสือพิมพ์ของทางการนครเวียงจันทน์กล่าว


ทางการในท้องถิ่น กล่าวว่า การปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำงึมเป็นปริมาณมากในช่วงที่ผ่านมา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในแขวงเวียงจันทน์ขณะนี้ แต่สัปดาห์ที่แล้วเจ้าหน้าที่บริษัทผลิตไฟฟ้าลาวจำกัด ได้ออกแถลงว่าน้ำจากเขื่อนไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในขณะนี้


ช่วงที่ผ่านมาสื่อของทางการได้รายงานข่าวและตีพิมพ์ภาพถนนทางเข้าเขื่อนน้ำงึมที่ได้รับความเสียหายหนักจากฝนตกหนักเช่นกัน โดยถนนช่วงไหล่เขาถูกตัดขาดไปช่วงหนึ่งจากดินเกิดดินถล่ม


ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th
 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank