จับตาพายุโซนร้อนคาเทียในแอตแลนติก

Friday, 02 September 2011 Read 989 times Written by 

2_9_2011_3

ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐ เผย พายุโซนร้อน"คาเทีย" ที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติก ได้ทวีกำลังเป็นพายุ'เฮอริเคน'แล้ว แต่ยังเร็วเกินไปที่จะระบุว่า พายุเฮอริเคนดังกล่าวจะส่งผลต่อสหรัฐหรือไม่

พายุ"คาเทีย"กลายเป็นพายุเฮอริเคนลูกที่สองของฤดูเฮอริเคน ในมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน ซึ่งขณะนี้มีจุดศูนย์กลางอยู่ห่างจากเกาะลีวอร์ด (Leeward) ในทะเลแคริบเบียน ไปทางตะวันออก 3,000 กิโลเมตร ด้วยกำลังแรง 121 กิโลเมตรต่อชัวโมง และได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ด้วยความเร็ว 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่พยากรณ์อากาศสหรัฐ คาดว่า เฮอริเคน'คาเทีย' อาจทำให้เกิดฝนตกบริเวณชายฝั่งของรัฐมิสซิสซิปปี้ และ หลุยส์เซียน่า แต่ยังเร็วเกินไปที่จะระบุว่าสถานการณ์จะเลวร้ายแค่ไหน หรือจะขึ้นฝั่งที่สหรัฐหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ทางการสหรัฐ ได้จับตาดูความเคลื่อนไหวของพายุเฮอริเคนอย่างใกล้ชิดแล้ว ล่าสุดมีรายงานว่า บริษัท บีพี ได้อพยพเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีความจำเป็นกว่า 500 คน ออกจากแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล บริเวณ กรีน แคนยอนแล้ว และพร้อมอพยพคนงานทั้งหมดหากจำเป็น

ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมจากพายุเฮอริเคน"ไอรีน"ซึ่งพัดถล่มพื้นที่ตะวันออกเฉียงของสหรัฐ ล่าสุดน้ำเริ่มลดแล้ว แต่ยังไม่หลายพื้นที่ยังจมอยู่ใต้น้ำ โดยเฉพาะที่รัฐนิวเจอร์ซี, นิวยอร์ค และเวอร์มอนต์ ขณะที่เจ้าหน้าที่กู้ภัย พยายามอย่างหนักเพื่อจะซ่อมแซมถนนที่ถูกตัดขาด เพื่อเร่งส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้ผู้ประสบภัย ด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ ได้ประกาศให้รัฐนอร์ธ แคโรไลนา และ นิวยอร์ค เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติครั้งใหญ่ และจะเร่งปล่อยเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที นอกจากนี้ยังมีแผนจะเดินทางไปที่เมืองแพทเตอร์สัน เพื่อตรวจดูความเสียหาย ในวันอาทิตย์นี้

ขอขอบคุณ http://www.krobkruakao.com
 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank