หน่วยงานสหรัฐเผย กรกฎาคม 2021 ทุบสถิติเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในโลก

Saturday, 14 August 2021 Read 1983 times Written by 

14082021 2

หน่วยงานสหรัฐเผย – วันที่ 14 ส.ค. ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า มนุษยชาติเผชิญกับเดือนที่ร้อนที่สุดในโลก และอากาศสุดขั้วที่เกิดจากเดือนที่ร้อนที่สุดในโลก ตามการเปิดเผยข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ของสหรัฐอเมริกา

อุณหภูมิโลกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 (พ.ศ. 2564) สูงสุดสำหรับเดือนกรกฎาคมทุกปีที่ผ่านมาในรอบ 142 ปี ที่มีการบันทึกสถิติ ตามปกติแล้ว กรกฎาคมเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในโลก ซึ่งหมายความว่า เดือนกรกฎาคมของปีนี้เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในรอบ 1,700 เดือนตั้งแต่ค.ศ. 1880 (พ.ศ. 2423) ที่ NOAA เริ่มเก็บบันทึกสถิติ

ริก สปินราด ผู้อำนวยการ NOAA กล่าวว่า “ในกรณีนี้ ที่แรกคือที่ที่เลวร้ายที่สุดที่จะอยู่ ทั่วไปแล้ว กรกฎาคมเป็นเดือนที่อบอุ่นที่สุดในโลกของแต่ละปี แต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 ทุบสถิติตัวเองเป็นเดือนกรกฎาคมที่ร้อนที่สุดในโลก และเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา และบันทึกสถิติใหม่นี้เพิ่มการขัดขวางการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่กำหนดต่อโลก”

ข้อมูลของ NOAA ระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนเพิ่งทุบสถิติก่อนหน้านี้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 (2559) จากนั้นเดือนกรกฎาคมใน ค.ศ. 2019 และ 2020 (พ.ศ. 2562 และ 2563)

ในช่วงเดือนกรกฎาคมของปีนี้ มีคลื่นความร้อนจำนวนมากในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงสหรัฐอเมริกาตะวันตก ยุโรปตะวันออก และเอเชีย นอกจากนี้ มีตัวอย่างอากาศสุดขั้วอื่นๆ เช่น น้ำท่วมฉับพลันในเยอรมนีและเบลเยียม เช่นเดียวกับจีน และไฟป่าอันตรายทั่วอเมริกาเหนือและยุโรป

การเปิดเผยของเดือนที่ร้อนที่สุดมาในสัปดาห์เดียวกับที่หน่วยงานวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศชั้นนำของโลกอย่าง IPCC ของสหประชาชาติ ได้ตีพิมพ์รายงานที่น่าสยดสยองที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทำให้โลกร้อนขึ้นเร็วกว่าที่เคยคิดไว้ และหน้าต่างป้องกันผลกระทบจากภัยพิบัติก็ปิดลง

การเปิดเผยของเดือนที่ร้อนที่สุดมีขึ้นสัปดาห์เดียวกับที่ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (IPCC) แห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศชั้นนำของโลก ตีพิมพ์รายงานเลวร้ายที่ระบุว่า มนุษย์ทำให้โลกร้อนเร็วกว่าที่เคยคิด และหน้าต่างเพื่อป้องกันผลกระทบจากภัยพิบัติกำลังปิดลง

“แต่ละ 4 ทศวรรษ (ช่วง 40 ปี) ที่ผ่านมา อบอุ่นกว่าทศวรรษ (ช่วง 10 ปี) ก่อนหน้านั้นมาตั้งแต่ค.ศ. 1850 อย่างต่อเนื่อง” รายงานข้างต้นระบุ

รายงานข้างต้นยังเน้นความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างโลกที่อบอุ่นขึ้นและผลกระทบที่เลวร้ายลงของอากาศที่รุนแรง รวมถึงฝนตกหนักมากขึ้น เช่น เมื่อเดือนก่อนในยุโรปที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันร้ายแรง ตลอดจนคลื่นความร้อนที่ร้อนขึ้นและยาวนานขึ้นอย่างที่เราเห็นหลายครั้งในฤดูร้อนนี้

ที่มาของเนื้อหาและภาพประกอบ : https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_6562750

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank