เผย "น้ำแข็งขั้วโลก" ละลายเร็วกว่าเดิม 7 เท่า

Wednesday, 01 January 2020 Read 899 times Written by 

01012020 1

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานการวิเคราะห์ของนักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า น้ำจะท่วมโลกเหตุจากน้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้น โดยในปัจจุบันน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายเร็วมากขึ้นกว่าปี 1990 ถึง 7 เท่า สูญเสียน้ำแข็งไปประมาณ 250 พันล้านตัน ซึ่งถ้าหากย้อนดูไปในช่วงปี 90 กรีนแลนด์สูญเสียน้ำแข็งเพียงแค่ 33 พันล้านตัน ส่วนในปีนี้นักวิทยาศาสตร์คาดว่าอาจสูงถึง 370 พันล้านตัน

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ยังชี้ว่า จากการรวบรวมข้อมูลจากดาวเทียมในช่วง 26 ปี ที่ผ่านมาเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในประเทศที่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ โดยคาดว่า ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นอีก 7 ซ.ม. ในช่วงปี 2100

ทั้งนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียม 11 ดวงที่ปฏิบัติการช่วงปี 1992-2018 ซึ่งดาวเทียมเหล่านี้วัดค่าความหนาของน้ำแข็ง ความเร็วกระแสน้ำและแรงโน้มถ่วง นักวิทยาศาสตร์ ทีม Imbie ได้รวบรวมข้อมูลการสำรวจของพวกเค้ากับข้อมูลสภาพอากาศล่าสุด สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงภาพปฏิกิริยาของกรีนแลนด์ต่อการร้อนขึ้นของอาร์กติก นี่เป็นส่วนหนึ่งของโลกที่เปลี่ยนไปจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นเพียง 0.75 องศาสเซลเซียส ในช่วง10ปีที่ผ่านมา

ทีม Imbie แสดงให้เห็นถึงว่ามีน้ำแข็งละลายไปมากกว่า 3.8 ล้านล้านตัน ไปสู่มหาสมุทรในช่วงการศึกษาที่ผ่านมา เทียบเท่ากับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 10.6 มิลลิเมตร ในขณะที่ช่วงแรกของยุค 90 อัตราการสูญเสียอยู่ที่ประมาณปีละ 1 มิลลิเมตร ซึ่งขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็นอัตรา 7 มิลลิเมตรในรอบ 10 ปี

หากย้อนกลับไปในปี 2013 IPCC (คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ได้คาดการณ์ระดับน้ำทะเลว่าอาจจะสูงขึ้นถึง 60 เซนติเมตร ใน ปี 2100 จากผลของน้ำแข็งละลายและอากาศที่ร้อนขึ้น ตัวเลขใหม่ชี้ว่า ในปี 2100 น้ำทะเลจะสูงขึ้นเป็น 67 เซนติเมตร แต่เมืองที่มีชายฝั่งหลายแห่งจะได้รับผลกระทบ เกิดน้ำท่วมบ่อยขึ้น และชายฝั่งอาจหายไป

อย่างไรก็ตามในปี 2018 ทีม Imbie คำนวณพบว่าขั้วโลกใต้ Antarctica ในปี 2100 จะต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ 10 เซนติเมตร และในส่วนของกรีนแลนด์ ทีม Imbie กล่าวว่าความหนาของน้ำแข็งจะต่ำกว่าที่คาดแล้ว 7 เซนติเมตร

Content : ThaiQuote
Credit : https://www.sanook.com/news/7983202/

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank