นักวิทย์มะกันชี้เดือนกรกฎาคมปีนี้ร้อนสุดทุบสถิติโลกในยุคสมัยใหม่

Friday, 19 August 2016 Read 810 times Written by 

19 08 2016 3

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ของสำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (โนอา) เปิดเผยเมื่อวันที่ 17 สิงหาคมว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นทั่วโลกทำให้เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ เป็นสถิติใหม่นับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลมา 137 ปี

รายงานของโนอาฉบับนี้เผยแพร่หลังจากที่ก่อนหน้านี้ 2 วัน สำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ของสหรัฐเพิ่งจะเปิดเผยข้อมูลด้านสภาพอากาศของตนที่ระบุว่าเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ร้อนในระดับทำลายสถิติเช่นกัน

“ตามปกติเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดของโลกอยู่แล้ว และเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็ไม่ผิดไปจากความคาดหมาย” รายงานของโนอาระบุ “เดือนกรกฎาคม 2559 มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 อยู่ 1.57 องศาฟาเรนไฮต์ (0.87 องศาเซลเซียส) ทำลายสถิติเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วไป 0.11 องศาฟาเรนไฮต์”

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า แนวโน้มของอากาศร้อนมีแรงขับเคลื่อนมาจากการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ หรือเชื้อเพลิงฟอสซิล และสถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีกจากปรากฏการณ์อุณหภูมิสูงขึ้นของมหาสมุทรที่รู้จักกันในชื่อ เอลนิโญ ซึ่งเพิ่งจะสิ้นสุดลงเมื่อเดือนที่แล้ว

รายงานของโนอาระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาวัดจากพื้นผิวโลกและพื้นผิวมหาสมุทรสูงที่สุดในฐานข้อมูลของโนอาเท่าที่เคยมีการบันทึกมานับตั้งแต่ปี 2423 นอกจากนี้เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมายังถือเป็นเดือนที่ทำลายสถิติร้อนที่สุดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 แล้ว นับเป็นการทำลายสถิติต่อเนื่องกันที่ยาวที่สุดในรอบ 137 ปี

รายงานระบุว่า พบอุณหภูมิสูงกว่าระดับอุณหภูมิเฉลี่ยในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก โดยพบอุณภูมิสูงสุดทำลายสถิติในหลายพื้นที่ของอินโดนีเซีย ทางตอนใต้ของทวีปเอเชียและนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ยังพบอุณหภูมิระดับร้อนจัดในพื้นที่บริเวณอ่าวเปอร์เซีย โดยหลายพื้นที่ในประเทศคูเวตมีอุณหภูมิสูงกว่า 113 องศาฟาเรนไฮต์ (45 องศาเซลเซียส) ในช่วงเดือนกรกฎาคม

“อุณภูมิสูงสุดในช่วงเดือนกรกฎาคม วัดได้ที่เมืองมิตริบาห์ ประเทศคูเวต ที่อุณหภูมิสูงถึง 126.5 องศาฟาเรนไฮต์ (52.5 องศาเซลเซียส) ในวันที่ 22 กรกฎาคม” รายงานระบุ

ในบาห์เรน อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 96.8 องศาฟาเรนไฮต์ (36 องศาเซลเซียส) ซึ่งถือว่าเป็นเดือนกรกฎาคมที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่เคยมีการบันทึกสถิติของประเทศมาตั้งแต่ปี 2445 นอกจากนี้อุณภูมิเฉลี่ยในนิวซีแลนด์ สเปนและฮ่องกงก็ร้อนขึ้นด้วย

โนอายังระบุด้วยว่า ช่วง 7 เดือนแรกที่ผ่านมาของปีนี้เป็นช่วง 7 เดือนแรกที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีอุณหภูมิสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 ถึง 1.85 องศาฟาเรนไฮต์

Credit เนื้อหาและภาพประกอบ http://www.matichon.co.th/news/254961

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank