วิกฤติโลกร้อนทำต้นโกงกางในออสเตรเลียตายระนาว

Tuesday, 12 July 2016 Read 1020 times Written by 

12 07 2016 2
ต้นโกงกางที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทางเหนือของออสเตรเลียล้มตายเป็นพื้นที่มากกว่า 7,000 เอเคอร์ ภายในระยะเวลาเพียงเดือนเดียว ตอกย้ำความรุนแรงของภาวะโลกร้อนบนโลก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ว่าศ.นอร์แมน ดุ๊ก นักนิเวศวิทยาซึ่งเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเรื่องป่าชายเลน จากมหาวิทยาลัยเจม์ส คุก ในออสเตรเลีย เผยแพร่ชุดภาพถ่ายความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าชายเลนบริเวณอ่าวคาร์เพนทาเรีย ทางตอนเหนือของประเทศ ว่าพรรณไม้ในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้โกงกางล้มตายเป็นจำนวนมาก ภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือนคิดเป็นพื้นที่มากกว่า 7,000 เอเคอร์ ทอดยาวตลอดแนวชายฝั่งเป็นระยะทาง 700 กิโลเมตร เทียบเท่าระยะทางด้วยรถยนต์จากนครซิดนีย์สู่เมืองเมลเบิร์น

ทั้งนี้ รูปแบบการตายของต้นไม้เป็นลักษณะแบบ "ดาย-แบ็ค" ( die-back ) ที่เป็นลักษณะอาการตายของพืชที่เริ่มจากปลายยอด ปลายกิ่งหรือปลายก้าน  โดยสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าวมักเป้นผลจากการที่พรรคณไม้อยู่ท่ามกลางสภาพอากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลายาวนานติดต่อกัน ซึ่งฤดูแล้งของออสเตรเลียในปีนี้กินเวลายาวนานกว่าปกติ อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอล-นีโญซึ่งมีความรุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ แม้ต้นโกงกางส่วนหนึ่งยังไม้ตายทันที แต่การสูญเสียใบและกิ่งในลักษณะดาย-แบ็ค ยากที่ต้นไม้จะสามารถฟื้นฟูตัวเองให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นการตอกย้ำความรุนแรงเข้าขั้นวิกฤติของภาวะโลกร้อนบนโลก โดยนอกเหนือจากกณีการตายของต้นโกงกางจำนวนมากแล้ว  "เกรตแบร์ริเออร์รีฟ" ซึ่งเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่และยาวที่สุดในโลกที่ทอดตัวอยู่ตามแนวชายฝั่งทางตะวันออกของออสเตรเลีย และเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ กำลังประสบกับภาวะฟอกขาวขั้นรุนแรง อันเนื่องจากมาจากวิกฤติโลกร้อนเช่นกัน

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/foreign/508280

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank