มหาสมุทรสะสมความร้อนเพิ่มทวีคูณในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

Wednesday, 20 January 2016 Read 797 times Written by 

20 01 2016 3
มหาสมุทรสะสมความร้อนเพิ่มทวีคูณในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ผลการสำรวจเผย ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มหาสมุทรดูดซับความร้อนเป็นปริมาณมากเทียบเท่ากับที่สะสมมา 130 ปีก่อนหน้านั้น

วันอังคารที่ 19 มกราคม 2559 เวลา 13:39 น.

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ว่า นายปีเตอร์ เกลคเลอร์ นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ลิเวอร์มอร์ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ เผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์ เนเจอร์ ไคลเมต เชนจ์ เมื่อวันจันทร์ ระบุว่า จากการสังเกตการณ์ ประเมินได้ว่า ความร้อนทั่วโลกที่มหาสุทรดูดซับไว้ตั้งแต่ปี 2408 เป็นต้นมา ราวครึ่งหนึ่งของปริมาณนั้นเกิดขึ้นภายในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ระหว่างปี 2540 ถึงปัจจุบัน

ปริมาณความร้อนราว 1 ใน 3 พบอยู่ลึกลงไปในน้ำระดับ 700 เมตร หรือเกินกว่านั้น ซึ่งเป็นระยะที่แสงแดดส่องไม่ถึง จึงดูเหมือนเป็นสิ่งที่พอจะอธิบายได้ถึงภาวะการ "หยุดชะงัก" ของปรากฏการณ์โลกร้อนที่เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่หลายคนตีความว่าเป็นการชะลอตัวของภาวะโลกร้อนในภาพรวม เนื่องจากก่อนหน้านี้เป็นที่เข้าใจกันว่า การดูดซับความร้อนเกิดขึ้นแต่เพียงระดับผิวน้ำ

พื้นผิวโลกราว 2 ใน 3 ถูกปกคลุมด้วยมหาสมุทร จึงสามารถช่วยดูดซับความร้อนราวร้อยละ 90 ที่เป็นผลมาจากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ส่งผลให้พื้นผิวโลกในส่วนอื่นเย็นลง แต่อาจก่อให้เกิดผลที่รุนแรงตามมา เนื่องจากความร้อนส่วนเกินที่มหาสมุทรดูดซับไว้ อาจกระทบต่อการวัฏจักรการหมุนเวียนของมหาสมุทรและบรรยากาศ ซึ่งจะมีผลต่อรูปแบบของสภาพอากาศ นอกจากนี้ มหาสมุทรยังดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดการเป็นกรดในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นราว 1 ใน 4 จากช่วงเริ่มต้นยุคอุตสาหกรรม ซึ่งสร้างความเสียหายต่อแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในทะเล

อย่างไรก็ตาม แม้ศักยภาพในการดูดซับความร้อนของมหาสมุทรจะมีไม่จำกัด แต่นั่นก็ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถึงแม้อุณภูมิจะเพิ่มขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นตัวเลขที่เคยคิดกันว่าปลอดภัย ก็อาจก่อให้เกิดหายนะร้ายแรงได้อย่างคาดไม่ถึง โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจก ถูกปล่อยออกมาและสะสมมานานหลายศตวรรษ แม้วันนี้จะยุติกิจกรรมทุกอย่างลง แต่มหาสมุทรก็ยังคงต้องดูดซับความร้อนส่วนเกินต่อไปอีกนาน.

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/foreign/374112

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank