วานูอาตูเตรียมรับมือไซโคลน “อูลา” หวั่นสร้างความเสียหายรุนแรง

Monday, 11 January 2016 Read 730 times Written by 

11 01 2016 5
รอยเตอร์ / เอเจนซีส์ / MGR online - ประชาชนในหมู่เกาะวานูอาตูพากันอพยพออกจากบ้านเรือนของตนในวันอาทิตย์ (10 ม.ค.) และเดินทางไปรวมตัวกันอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว หลังจากพายุไซโคลน “อูลา” ซึ่งมีความเร็วลมที่ศูนย์กลางสูงถึง 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและเป็นพายุไซโคลนที่จัดว่ามีความรุนแรงในระดับที่ 4 จากทั้งหมด 5 ระดับ เตรียมพัดขึ้นฝั่ง และส่งผลให้หมู่เกาะกลางมหาสมุทรแปซิฟิกแห่งนี้ที่เพิ่งถูกถล่มราบด้วยพายุไซโคลนระดับ 5 เมื่อปีที่แล้ว ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับทั้งลมพายุและภาวะฝนตกหนัก

รายงานข่าวซึ่งอ้างโฆษกขององค์กรบรรเทาทุกข์ “CARE Australia” ระบุว่า หน่วยงานด้านการจัดการภัยพิบัติของทางการวานูอาตูได้ประกาศเตือนภัยระดับสีแดง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดบนเกาะตาเฟอา ซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดในบรรดาจังหวัดทั้ง 6 ของวานูอาตูและเป็นพื้นที่ที่คาดว่าพายุไซโคลนอูลาจะพัดผ่านเป็นจุดแรก

รายงานข่าวระบุว่า ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวต่างพากันอพยพเข้าไปรวมตัวกันอยู่ภายในศูนย์พักพิงชั่วคราวที่ตั้งขึ้นตามโรงเรียนและโบสถ์คริสต์หลายแห่ง เพื่อเตรียมรับมือการมาถึงของพายุไซโคลนลูกดังกล่าวที่คาดว่าจะมีความเร็วลมที่ศูนย์กลางสูงถึง 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจทำให้วานูอาตูต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม และภาวะคลื่นซัดฝั่ง “สตอร์ม เสิร์จ”

เมื่อเดือนมีนาคม ปีที่แล้ว พายุไซโคลน “แพม” ซึ่งเป็น “ไซโคลนระดับ 5” ได้สร้างความเสียหายใหญ่หลวงแก่วานูอาตู หลังพัดถล่มทำลายผลผลิตทางการเกษตรมากกว่าร้อยละ 90 ของหมู่เกาะแห่งนี้ รวมถึงทำลายบ้านเรือนและเครือข่ายระบบไฟฟ้าทั่วทั้งหมู่เกาะแห่งนี้ ตลอดจนคร่าชีวิตประชาชนไปอย่างน้อย 11 ราย และสร้างความยากลำบากในการดำเนินชีวิตให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ จากจำนวนประชากรมากกว่า 252,800 รายที่อาศัยอยู่ในวานูอาตู

Credit : http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000003137

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank