นาซาเตือนวิกฤตแหล่งน้ำใต้ดินทั่วโลก

Friday, 19 June 2015 Read 1035 times Written by 

19 06 2015 5-1

เว็บไซต์ข่าวรัสเซีย ทูเดย์ รายงานเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) เผยรายงานในวารสารวอเตอร์ รีซอร์สซึส รีเสิร์ช ระบุว่า ปริมาณน้ำสะสมใต้ดินทั่วโลกกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว นักวิจัยใช้ดาวเทียมเกรซ (GRACE: Gravity Recovery and Climate Experiment) สำรวจความเปลี่ยนแปลงของสนามแรงโน้มถ่วงโลกระหว่างปี 2546 - 2556 ซึ่งเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของชั้นหินอุ้มน้ำ พบว่า แอ่งน้ำบาดาลแห่งสำคัญของโลก 13 จาก 37 แห่ง หรือคิดเป็นอัตราส่วนราว 1 ใน 3 กำลังลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่มีน้ำทดแทนเข้ามาในปริมาณที่น้อยมากจนถึงไม่มีเลย สันนิษฐานว่า สาเหตุหลักมาจากความต้องการใช้น้ำของประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีปัจจัยเสริมจากสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ปัจจุบันน้ำบาดาลมีอัตราส่วนสูงถึงร้อยละ 35 ของน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคทั่วโลก แอ่งน้ำบาดาลที่อยู่ในขั้นวิกฤตส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นเช่นตอนเหนือของอินเดีย ปากีสถาน และแอฟริกาเหนือ แอ่งน้ำบาดาลที่อยู่ในสภาพย่ำแย่ที่สุดคือแอ่งน้ำบาดาลอาระเบีย ที่รองรับการใช้น้ำของประชากรราว 60 ล้านคน รองลงมาคือแอ่งน้ำบาดาลอินดัสในอินเดียและปากีสถาน และแองน้ำบาดาลมูร์ซุก-ดจาโดในลิเบียและไนเจอร์ รายงานระบุว่า น้ำบาดาลที่ถูกสูบขึ้นมาใช้ จะไม่ย้อนกลับลงไปสู่แหล่งน้ำใต้ดิน แต่จะระเหยไปในอากาศหรือไหลลงสู่แม่น้ำซึ่งจะไปรวมกันที่มหาสมุทรในท้ายที่สุด นอกจากนี้ นักวิจัยยังชี้ว่า การทำอุตสาหกรรมบางอย่างยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการลดลงของปริมาณน้ำในแอ่งน้ำบาดาลด้วย เช่นตัวอย่างในกรณีของแอ่งน้ำบาดาลแคนนิ่งในออสเตรเลีย ที่มีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 1 อยู่ในพื้นที่ชุมชน แต่กลับเป็นแอ่งน้ำในลำดับต้นๆ ที่มีระดับน้ำลดลงมาก ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมเหมือง โดยทีมนักวิจัยได้เรียกร้องให้ประชาคมโลกตระหนักและให้ความสำคัญกับการจัดการแหล่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการมีน้ำใช้อย่างยั่งยืนในอนาคต.

ที่มา: http://rt.com/news/267898-nasa-study-world-water/

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/foreign/329193

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank