แฉเงินช่วยเหลือโลกร้อนไม่ถึงมือประเทศยากจน

Tuesday, 09 December 2014 Read 711 times Written by 

09 12 2014 3

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ว่า สถาบันการพัฒนาต่างประเทศ (โอดีไอ) องค์กรอิสระจากอังกฤษ เผยรายงานเมื่อวันอาทิตย์ ก่อนการหารือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในสัปดาห์สุดท้ายที่กรุงลิมาของเปรู ระบุว่า เงินสนับสนุนราว 7,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 251,547 ล้านบาท) สำหรับช่วยเหลือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ถูกแจกจ่ายอย่างไม่เป็นธรรม กว่าครึ่งของเงินจำนวนนี้ตกแก่ 10 ประเทศเท่านั้น จากทั้งหมด 135 ประเทศ

รายงานระบุว่า เม็กซิโกและบราซิล ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด รวมถึงยังมีศักยภาพสูงในด้านพลังงานหมุนเวียนเช่นเดียวกับโมร็อกโก แต่ 3 ประเทศนี้กลับได้รับเงินช่วยเหลือประเทศละกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 16,548 ล้านบาท) ขณะที่กลุ่มประเทศยากจนและมีความเสี่ยงสูงได้รับเงินส่วนแบ่งเพียงเล็กน้อย โดยกลุ่มประเทศที่มีรายได้ระดับกลางแต่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน ได้แก่ นามิเบีย เอลซัลวาดอร์ และกัวเตมาลา แต่ละแห่งได้รับเงินไม่ถึง 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 165.5 ล้านบาท)

ด้านกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและมีความอ่อนไหวทางการเมืองอย่างไอวอรีโคสต์และซูดานใต้ ได้รับน้อยกว่า 350,000 ดอลลาร์สหรัฐ (11.5 ล้านบาท) และ 700,000 ดอลลาร์สหรัฐ (23.1 ล้านบาท) ตามลำดับ ขณะที่ประเทศที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น โซมาเลีย หมู่เกาะโซโลมอน บุรุนดี ไนเจอร์ และเอริเทรีย  ได้รับส่วนแบ่งจากกองทุนนี้เพียงร้อยละ 7

เงินช่วยเหลือดังกล่าวมาจากการสนับสนุนของกลุ่มประเทศร่ำรวย เพื่อชดเชยและช่วยเหลือกลุ่มประเทศยากจนที่ต้องแบกรับภาระด้านผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ทั้งที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงส่วนน้อย เงินสนับสนุนได้เพิ่มสูงขึ้นมากจากเดิม 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 125.7 ล้านบาท) ในปี 2546 เป็น 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 66,196 ล้านบาท) ในปีนี้ แม้จะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการแต่ก็นับว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดี โดยในการหารือครั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่า นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป จะต้องเพิ่มเงินช่วยเหลือให้ได้ถึง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.3 ล้านล้านบาท) ต่อปี ขณะที่รายงานของยูเอ็นเมื่อวันศุกร์ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2593 เป็นต้นไป กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอาจต้องการเงินช่วยเหลือในส่วนนี้สูงถึง 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16.5 ล้านล้านบาท) ต่อปี.

Credit : http://www.dailynews.co.th/

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank