รวมถึงวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 54
องค์การ พลังงานระหว่างประเทศ ระบุว่า ญี่ปุ่นตกอยู่ในช่วงขาดแคลนพลังงานครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติ ศาสตร์จากการที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมะและระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ ได้รับความเสียหาย และสถานการณ์กำลังแย่ เมื่อมีกระแสต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์เกิดขึ้น
ประเทศนี้ไม่มี แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงเป็นของตัวเอง ที่ผ่านมาพึ่งกระแสไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานนิวเคลียร์เป็นหลัก เวลานี้กำลังจะเผชิญบททดสอบในช่วงหน้าร้อน ก.ค.-ส.ค. ซึ่งอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 30 องศาเซลเซียส รัฐบาลขอให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น โดยในกรุงโตเกียวตั้งเป้าให้ลดลง 25% โดยขอให้ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไว้ที่ 28 องศาเซลเซียส เลิกใส่สูท หันมาสวมรองเท้าแตะและเสื้อผ้าบางเบา
กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ญี่ปุ่น ประกาศแผนตัวอย่างการประหยัดพลังงาน อาทิ งดใช้เครื่องปรินต์ เลิกใช้ประตูอัตโนมัติ ลดการใช้ลิฟต์และให้เริ่มชั่วโมงทำงานเร็วขึ้น ขณะที่รัฐบาลผลัก ดันการใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ โดยที่เห็นในภาพติดตั้งบนหลังคาของสำนัก งานใหญ่บริษัทอีโตชู ในกรุงโตเกียว มีเป้าหมายให้มีบ้านที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 10 ล้านหลัง ภายในปี 2563
ด้าน ศ.เคอิโกะ ทานากะ อาจารย์มหาวิทยาลัยเมจิ กาคุอิน ในกรุงโตเกียว เผยว่า เมื่อก่อนญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นักเรียนหญิงวัย 18 ปี จะใช้ลิฟต์ถ้าต้องการขึ้นไปเพียงชั้นเดียวเพราะไม่อยากให้เหงื่อออก และเป็นประเทศที่โถส้วมส่วนใหญ่ติดตั้งเครื่องทำความร้อน อีกทั้งมีเครื่องกำเนิดเสียงอิเล็กทรอนิกส์ในห้องน้ำหญิง เพื่อกลบเสียงไม่พึงประสงค์ให้กับสาวๆ
คนญี่ปุ่นชินกับความสะดวก สบายที่ต้องใช้ต้นทุนพลังงานสูง ตนยังสงสัยว่า เพื่อนร่วมชาติจะหวนกลับสู่การใช้พลังงานระดับต่ำเพื่อสนองความจำเป็นของ ประเทศได้หรือไม่ โดยเวลานี้ตนสอนหนังสือโดยเปิดไฟเพียงครึ่งห้องและไม่ค่อยพึ่งคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ แล้วหันกลับมาสู่การเรียนการสอนแบบใช้ชอล์กและแปรงลบกระดานแทน