ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุโคลนถล่มในบราซิล เพิ่มเป็น 17 คน

Wednesday, 20 March 2013 Read 676 times Written by 

20 03 2013 1

ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วม และโคลนถล่มในรัฐริโอ เดอ จาเนโร ของบราซิล ล่าสุดเพิ่มเป็น 17 คน ขณะที่ประชาชนอีกหลายร้อยคนต้องอพยพออกจากบ้านเรือน

ฝนที่ตกหนักในรัฐริโอ เดอ จาเนโร ของบราซิล ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และโคลนถล่มในพื้นที่แถบภูเขา ชาวบ้านกว่า 500 คน ต้องอพยพออกจากบ้านเรือน ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 17 คน ขณะที่การช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากถนนและสะพานถูกโคลน และต้นไม้ถล่มทับ เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงพื้นที่ของหน่วยกู้ภัย

มีรายงานว่าฝนที่ตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 24 ชั่วโมง ส่งผลให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมชุมชนในหลายจุด ท้องถนนกลายสภาพเป็นแม่น้ำ เมืองเปโตรโปลิส ซึ่งเป็นเมืองทางประวัติศาสตร์ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด ขณะที่ประธานาธิบดีดิลม่า รูสเซฟฟ์ ต้องประกาศเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงให้อพยพออกบ้านเรือนเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิงของทางการเพื่อความปลอดภัย

Credit: http://news.thaipbs.or.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank