แอนตาร์กติกา..ทำแผนที่สามมิติน้ำแข็ง

Tuesday, 16 October 2012 Read 1371 times Written by 

16 10 2012 3

นักวิทยาศาสตร์เริ่มทำแผนที่สามมิติเป็นครั้งแรก ของแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทร แอนตาร์กติก เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อน

ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก 8 ชาติ ได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และสหรัฐ ส่งเรือดำน้ำหุ่นยนต์ลงไปในระดับลึกประมาณ 20 เมตร ใต้ชั้นน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกา ที่ขั้วโลกใต้ และจะใช้คลื่นโซนาร์วัดปริมาตร และความหนาแน่นของน้ำแข็งในทะเล ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมและการตรวจวัดทางอากาศ จะทำให้ได้แผนที่สามมิติ ที่ช่วยนักวิทยาศาสตร์เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของแผ่นน้ำแข็ง และผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อนซึ่งมีผลต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ตั้งแต่แพลงก์ตอน ตัวเล็กๆ ไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อย่างวาฬ

นักวิทยาศาสตร์ มีข้อมูลความหนาของแผ่นน้ำแข็งในทวีปอาร์กติก หรือขั้วโลกเหนือ ย้อนหลังไปทศวรรษหลังปี 2493 แต่สำหรับขั้วโลกใต้แล้ว ยังไม่มีข้อมูล จึงถือเป็นครั้งแรก ซึ่งการสำรวจนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน

ขอขอบคุณ http://www.krobkruakao.com

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank