คลองจินดา: ปรับตัวด้านการเกษตรเพื่อรับมือกับน้ำท่วม

Friday, 31 August 2012 Read 24101 times Written by 

 31 08 2012 6-1

คลองจินดา: ปรับตัวด้านการเกษตรเพื่อรับมือกับน้ำท่วมและอากาศร้อนตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ชุมชนเกษตรกรคลองจินดาเป็นชุมชนชาวสวนเก่าแก่ เป็นแหล่งผลไม้ที่ขึ้นชื่อ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบด้านภูมิประเทศ ที่เป็นที่ราบลุ่ม มีคลองจินดา ที่แยกมาจากแม่น้ำท่าจีน และอยู่ใกล้กับกรุงเทพ การทำาสวนของเกษตรกรในชุมชนมักจะเป็นลักษณะของสวนยกร่อง ปลูกองุ่น ส้ม ละมุด ฝรั่ง ชมพู่ พุทรา มะพร้าวน้ำหอมแต่ก็มีพื้นที่บางส่วนที่ใช้ทำานาปลูกข้าว ตำาบลคลองจินดาประกอบด้วย 14 หมู่บ้าน 1,132 ครัวเรือน ประชากร ราว 5,793 คน และมีพื้นที่เกษตรรวมกันประมาณ 14,561 ไร่

ในอดีต ชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำนาเป็นหลัก แต่ก็จะทำสวนไม้ผลผสมผสานบริเวณพื้นที่ริมน้ำ ปลูกหมาก ส้มโอ มะพร้าว กล้วย ต่อมา เมื่อมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และวิถีการทำาสวนยกร่องแบบชาวสวนดำเนินสะดวกได้แพร่เข้ามา ทำาให้ชาวบ้านจึงเลิกทำานา (เพราะสามารถทำนาได้เพียงปีละครั้ง จึงได้ผลตอบแทนน้อย) ปรับเปลี่ยนที่นาเป็นสวนยกร่อง และนำพันธุ์ผลไม้จากเมืองนนท์และที่ต่างๆ เข้ามาปลูกกันอย่างแพร่หลาย ส่วนชาวบ้านที่ยังอยากทำนาอยู่ ก็อาจปลูกข้าวในท้องร่องสวน เพื่อให้มีข้าวพอกิน

ที่ผ่านมา คลองจินดาไม่ค่อยประสบกับวิกฤติจากสภาพอากาศบ่อยนัก มีน้ำท่วมใหญ่ที่สำาคัญๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับลมมรสุมใหญ่ เช่น ในปี พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2515 และ พ.ศ. 2526-27 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ แต่ก็มีความเสี่ยงจากน้ำท่วมประจำาปี เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากน้ำเหนือที่จะไหลลงสู่กรุงเทพในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่น้ำทะเลขึ้นสูง จึงทำาให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรของเกษตรกรได้ ปัญหาที่สำาคัญกว่าสำาหรับเกษตรกรชาวสวนที่คลองจินดาคือ ปัญหาอากาศร้อน เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช การออกดอก/ติดผล รวมทั้งโรคและแมลงศัตรูพืชที่ระบาดเพิ่มขึ้น รวมไปถึงความผันผวนของสภาพอากาศ ที่ร้อนจัด ลมแรง และมีฝนตกแบบหนัก และทิ้งช่วง ซึ่งทำาให้การทำเกษตรของชาวบ้านยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านได้ทำการปรับตัวเพื่อรับมือกับความผันผวนของสภาพอากาศไปบ้างแล้ว เช่น การใช้แสลนเพื่อพรางแสงให้ต้นไม้ผล การห่อกระดาษให้กับผลไม้เป็น 2 ชั้น การใช้สารเคมีเพื่อควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช การทำาคันดินเพื่อป้องกันน้ำท่วม การเสริมไม้ค้ำยันให้กับไม้ผล (กันลมพัดกิ่งหัก/ฉีดขาด) รวมไปถึงการเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูก ที่สามารถทนกับอากาศร้อนและความผันผวนของสภาพอากาศได้ กลุ่มเกษตรยั่งยืนคลองจินดา โดยการสนับสนุนของมูลนิธินโยบายสุขภาวะ ได้ริเริ่มจัดทำาโครงการนำร่องด้านการเกษตรในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาสภาพปัญหา การปรับตัว ความเสี่ยง และความเปราะบางของเกษตรกรในพื้นที่ ตลอดจนทำการทดสอบวิธีการปรับตัว ที่จะช่วยสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับชาวบ้านเพิ่มขึ้น ร่วมกับเกษตรกรตัวอย่าง 10 ราย

ติดต่อ กลุ่มเกษตรยั่งยืนคลองจินดา 91/2 หมู่ 7 ต.คลองจินดา อ.สามาพราน จ.นครปฐม
โครงการนำาร่องการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน

Credit: http://www.greennet.or.th

31 08 2012 6

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank