โลกร้อน ปะการังใต้น้ำก็พลอยเดือดร้อน!

Wednesday, 02 January 2019 Read 800 times Written by 

syn22

 

โลกร้อน ปะการังใต้น้ำก็พลอยเดือดร้อน!

เมื่อพูดถึงทะเล จะมีทั้งคนที่ไปเล่นน้ำและไปดำน้ำตลอดจนชมวิวและปิกนิกที่ชายหาด หากจะเพลิดเพลินชมโลกสีครามอย่างใกล้ชิดย่อมต้องดำน้ำลงไปดูชีวิตใต้น้ำ ดูปลา ดูปะการัง นักท่องเที่ยวมากมายทั่วโลกมุ่งหน้ามาดำน้ำในไทย เพราะปะการังไทยสวยเกือบที่สุดในโลก แต่เรื่องนี้ยังเป็นจริงอยู่หรือเปล่า

          แนวปะการังในไทยเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ อย่างพายุมรสุม คลื่นสึนามิ อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นและแสงแดดที่ร้อนขึ้น และจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การทำประมง การท่องเที่ยว ใน ค.ศ. 1998 เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวทั่วโลก ปะการังมีสีเพราะมีสาหร่ายขนาดเล็กอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการังแบบพึ่งพากัน สาหร่ายจะสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร ช่วยเร่งกระบวนการสร้างหินปูน รวมถึงสร้างสีสันให้ตัวปะการัง ส่วนปะการังก็ให้ที่อยู่ เมื่อสภาพแวดล้อมในทะเลเปลี่ยนแปลง เช่น น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นติดต่อกันหลายสัปดาห์ สาหร่ายจะลอกตัวออกจากปะการังเพื่อเอาชีวิตรอด ปะการังจะเหลือชั้นเนื้อเยื่อใสและหินปูน จึงเห็นเป็นสีขาว ถึงที่สุดปะการังจะตายได้

ใน ค.ศ. 2010 เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวอย่างรุนแรงในประเทศไทย แนวปะการังในทุกจังหวัดทางฝั่งทะเลอันดามันฟอกขาวมากกว่าทางฝั่งอ่าวไทย เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวจะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลเฉลี่ยรายเดือนบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล มีค่าสูงกว่า 30.3 องศาเซลเซียส ซึ่งปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในปี ค.ศ. 2010 พบว่า อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 31.7 องศาเซลเซียสในเดือนพฤษภาคม และมีวันที่จำนวนอุณหภูมิเฉลี่ยรายวัน เกิน 30.3 องศาเซลเซียส มากถึง 95 วัน

น่าวิตกว่า แนวปะการังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามจะเสียหายเพราะภาวะโลกร้อนในอนาคต จึงต้องสำรวจและประเมินสภาพแนวปะการัง จะได้วางแผนจัดการทรัพยากรแนวปะการังได้ถูกต้อง

งานวิจัยนี้สำรวจการเปลี่ยนแปลงของปะการังที่มีชีวิตบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วง ค.ศ. 1988 2011 และชายฝั่งอ่าวไทย ช่วง ค.ศ. 1995 2011 โดยใช้วิธี manta-tow คือใช้เรือขนาดเล็กลากผู้สำรวจ 2 - 3 คนที่ติดอุปกรณ์ดำน้ำตื้น ไปตามแนวปะการังธรรมชาติตามความลาดชันของชายหาด นักสำรวจจะสังเกตและบันทึกการกระจายตัวของปะการัง

ผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แนวปะการัง คิดเป็นสัดส่วนปะการังที่มีชีวิตต่อพื้นที่ปะการังทั้งหมด พบว่า กลุ่มแนวปะการังหมู่เกาะสุรินทร์ เดิมมีปะการังที่มีชีวิตร้อยละ 42.9 ในปี ค.ศ. 1989 แล้วลดลงเหลือร้อยละ 35.3 ใน ค.ศ. 1989 แต่กลับมาเพิ่มจำนวนเป็น ร้อยละ 49.4 ใน ค.ศ. 2002 และร้อยละ 55.1 ในค.ศ.2006 แต่ก็ลดลงเหลือเหลือร้อยละ 10.7 หลัง ค.ศ. 2010 ที่เกิดเหตุการณ์ปะการังฟอกขาว

กลุ่มแนวปะการังหมู่เกาะสิมิรัน จาก ค.ศ. 1988 ถึง 2006 มีพื้นที่ปะการังที่ที่มีชีวิต ร้อยละ 25.4 และ 30.6 แต่ก็ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 8.5 หลังเกิดเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวใน ค.ศ. 2510 หมู่เกาะพีพี ระหว่างค.ศ. 1988 - 1955 พื้นที่แนวปะการังมีปะการังที่มีชีวิตประมาณร้อยละ 40-36 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 41 ในค.ศ. 2006 และลดลงเหลือร้อยละ 22.5 ใน ค.ศ. 2010 ที่เกิดปะการังฟอกขาว

กลุ่มแนวปะการังหมู่เกาพีพี จาก ค.ศ. 1988-1955 มีปะการังที่มีชีวิตร้อยละ 40-36 และเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น ร้อยละ 41 ในปี 2006 ก่อนที่จะลดลงเหลือ ร้อยละ 22.5 ใน ค.ศ. 2010 เพราะปรากฏการณ์ฟอกขาว

กลุ่มแนวปะการังเกาะหินกอง ปะการังมีชีวิตขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 26.4 ใน ค.ศ. 1988 เป็นร้อยละ 29 ใน ค.ศ. 1922 คงพื้นที่ไว้ได้ในจนถึง ค.ศ. 1999 และลดลงเหลือ 17.6% หลัง ค.ศ. 2010

กลุ่มแนวปะการังเกาะอาดังราวี ปะการังมีชีวิตเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 26.7 ใน ค.ศ.1955 เป็นร้อยละ 57.8 ใน ค.ศ. 2006 และลดลงเหลือร้อยละ 44.9 ใน ค.ศ. 2010

กลุ่มแนวปะการังเกามันและเกาะช้าง มีพื้นที่ปะการังที่มีชีวิตลดลงจาก ค.ศ. 1995 ถึง ค.ศ. 2006 จากร้อยละ 37.4 เป็น ร้อยละ 33.3 และลดลงเหลือ ร้อยละ 22.2 ใน ค.ศ. 2010 หลังเกิดการฟอกขาว

          กลุ่มปะการังบริเวณใกล้ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ ปะการังมีชีวิตมีพื้นที่ปกคลุมคงที่ ร้อยละ 39.1 ใน ค.ศ. 1995 และลดลงเหลือ ร้อยละ 36.0 ใน ค.ศ. 2007 และลดลงเหลือ 32.1 ใน ค.ศ. 2010 หลังเกิดการฟอกขาว

          กลุ่มปะการังนอกชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง บริเวณเกาะเต่า มีพื้นที่ปกคลุมด้วยปะการรังที่มีชีวิต ร้อยละ 35 ใน ค.ศ.1995, 2006, และ 2011

ผลการสำรวจในช่วง 2 ทศวรรษ บ่งชี้ว่า ปะการังบริเวณนอกชายฝั่งมีสภาพดีกว่าบริเวณใกล้ชายฝั่งที่มีการพัฒนาที่ดิน ทำให้มีตะกอนปริมาณมากสะสมในน้ำทะเล นอกจากนี้ปะการังส่วนใหญ่บริเวณตอนเหนือของทะเลอันดามัน และทางตอนบนด้านตะวันออกของอ่าวไทย ได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวใน ค.ศ. 2010 จึงควรมีการสำรวจระยะยาวเพื่อคาดการณ์การฟื้นตัวของแนวปะการังเมื่อได้รับผลกระทบจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงต่อไป

ปะการังยังมีประโยชน์อื่นอีกมากนอกจากมีไว้ให้นักท่องเที่ยวดู แนวปะการังเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำ เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิดซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์ บางชนิดสัตว์น้ำที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ แนวปะการังเป็นกำแพงป้องกันชายฝั่งพังทลายเพราะคลื่นลม กระแสน้ำ และพายุทรายที่เห็นเต็มชายหาดส่วนหนึ่งก็เกิดจากการสึกกร่อนของหินปูนในแนวปะการัง นอกจากนี้ แนวปะการังยังเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านระบบนิเวศวิทยาชายฝั่งและด้านการแพทย์ เมื่อมีความสำคัญมากเช่นนี้ ย่อมควรศึกษาให้มากยิ่งขึ้นเพื่อหาทางป้องกันปะการังเสียหายอันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

อ้างอิง: Phongsuwan N, Chankong A, Yamarunpatthana C, Chansang H, Boonprakob R, Petchkumnerd P, (2013). Status and changing patterns on coral reefs in Thailand during the last two decades. Deep-Sea Research Part Ii-Topical Studies in Oceanography. 96:19-24.

Photo by Smithsonian Magazine

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank