น้ำท่วมพื้นที่ชายฝั่ง เรื่องจริงไม่อิงนิยาย

Wednesday, 02 January 2019 Read 634 times Written by 

syn21

 

น้ำท่วมพื้นที่ชายฝั่ง เรื่องจริงไม่อิงนิยาย

ชายฝั่งทะเลไทยยาวเหยียดทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน หาดทรายก็ขาวสะอาด น่าไปพักผ่อนเที่ยวชมให้สำราญใจ เมื่อไปทะเลจะเห็นว่ามีน้ำขึ้น น้ำลงเป็นปกติ บางครั้งเห็นหาดทรายยาวเหยียดออกไปในทะเล เดินจนเมื่อยก็ยังไม่ถึงน้ำ บางครั้งหาดสั้นนิดเดียว เพราะน้ำทะเลขึ้นสูง ฉะนั้น สภาพเช่นนี้จึงเป็นเรื่องปกติ...ใช่หรือไม่

ตั้งแต่อากาศแปรปรวน ฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาล นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกก็เริ่มเน้นการศึกษาเรื่องนี้ มีงานวิจัยยืนยันว่าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น สอดคล้องกับสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นเพราะกิจกรรมของมนุษย์ ระดับน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งจะสูงขึ้นมากจนเกิดน้ำท่วมได้บ่อยขึ้น เมื่อน้ำท่วมย่อมไม่ท่วมเฉพาะชายฝั่ง แต่อาจจะท่วมขึ้นมาจนถึงเขตเมืองได้ นอกจากนี้ พื้นที่เกษตรที่อยู่ใกล้ชายฝั่งก็จะเดือดร้อนไปด้วย เพราะหากน้ำเค็มเข้ามาปนน้ำจืดมากเกินไปทั้งการประมงและการเกษตรย่อมเสียหายได้

เมื่อมีรายงานเช่นนี้ ก็น่าคิดว่า แล้วชายฝั่งทะเลประเทศไทยจะได้รับผลกระทบใดบ้าง เท่าที่เคยมีการสำรวจระดับน้ำทะเล พบว่าบางบริเวณเกิดน้ำท่วมน้อยลง แต่บางบริเวณน้ำท่วมเพิ่มขึ้น นักวิจัยจึงสนใจสำรวจพื้นที่ทั่วทั้งอ่าวไทย และติดตามข้อมูลระยะยาว โดยหาค่าเฉลี่ยระดับน้ำทะเลปานกลางท้องถิ่นรายปี (Annual local mean sea level) ช่วง ค.ศ. 1985 – 2009 รวม 25 ปี โดยรวบรวมสถิติระดับน้ำขึ้น-ลง รายชั่วโมงจากสถานีวัดระดับน้ำของกรมเจ้าท่า รวม 13 แห่ง มาหาค่าเฉลี่ยรายปี สถานีวัดระดับน้ำเหล่านี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งของอ่าวไทย 3 ภูมิภาคได้แก่ บริเวณอ่าวไทยตอนบน อ่าวไทยบริเวณตะวันออก และอ่าวไทยภาคใต้ฝั่งตะวันตกและตะวันออก

การศึกษาพบว่า การที่ได้สถิติของอัตราระดับน้ำทะเลไม่เท่ากันก็เพราะ ที่ตั้งสถานีวัดระดับน้ำ สภาพแวดล้อมของสถานี และกิจกรรมของมนุษย์ที่อยู่ใกล้สถานี เมื่อพิจารณาตามภูมิภาค (Averaging the annual local MSL by region) 3 ภูมิภาคในช่วง 25 ปี พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วน้ำทะเลปานกลางท้องถิ่นสูงขึ้นประมาณ 5 มิลลิเมตรต่อปี

เมื่อพิจารณาระดับน้ำทะเลปานกลางสัมบูรณ์ ที่ปรับแก้ค่าการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในแนวตั้งที่เป็นสาเหตุทำให้แผ่นดินยกตัว พบว่า ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นบริเวณชายฝั่งของประเทศไทยทั้ง 3 ภูมิภาค ในอัตรา 1.4-12.7 มิลลิเมตรต่อปี

โดยระดับน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน เช่น กรุงเทพมหานาคร สมุทรปราการ ที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีอัตราเพิ่มขึ้น 12.7 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงที่จะถูกน้ำท่วมในอนาคต เนื่องจากการทรุดตัวของดินบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เกิดจากการใช้น้ำใต้ดินและแรงกดทับจากอาคารและสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่

หากในอนาคตหากน้ำทะเลยังคงเพื่อขึ้นเรื่อยๆ มีโอกาสสูงที่จะสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งทะเลแบบถาวร จึงควรวางแผนเพื่อจัดการชายฝั่ง หาทางชะลอการพังทลายของชายฝั่งและเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติในอนาคต

อ้างอิง: Sojisuporn, P., Sangmanee, C., & Wattayakorn, G. (2013). Recent estimate of sea-level rise in the Gulf of Thailand. Maejo International Journal of Science and Technology, 7, 106-113.

Photo by Fotolia.com

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank