ความรุนแรงของน้ำท่วมหาดใหญ่ เมืองริมทะเลภาคใต้

Wednesday, 02 January 2019 Read 844 times Written by 

syn14

 

ความรุนแรงของน้ำท่วมหาดใหญ่ เมืองริมทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต

ในหน้าร้อน แดดย่อมจะแรง อากาศจะร้อนก็เป็นธรรมดา แต่หน้าฝน ฝนไม่ค่อยตก หน้าหนาวก็ไม่หนาวนี่สิ น่าสงสัยว่าอากาศจะแปรปรวน นักวิจัยย่อมอยากรู้ให้แน่ชัด มีหลักฐานเชิงประจักษ์ประกอบจึงจะยอมเชื่อว่า อากาศร้อนตามเมืองริมทะเลทุกวันนี้เป็นเรื่องผิดปกติไปเสียแล้ว ความผิดปกตินี้ไม่มีผลดีเลย จึงต้องวิจัยต่อไปว่า จะมีวิธีใดทำให้กลับเป็นปกติได้บ้าง

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นศูนย์กลางการค้าและการท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคใต้ มีประชากรหนาแน่น ทว่า ระยะหลังมักเกิดน้ำท่วม น้ำท่วมหาดใหญ่แบบไม่ทันตั้งตัว เมื่อ พ.ศ. 2543 และท่วมเกิน 2 เมตรอยู่นาน อาคารบ้านเรือนและเศรษฐกิจเสียหายหนัก สาเหตุส่วนหนึ่งที่น้ำท่วมก็คือป่าต้นน้ำถูกทำลาย และเพราะการสร้างบ้านเรือนขวางทางน้ำ เนื่องจากเทศบาลไม่ได้วางผังเมืองให้ดี หากหลายปีน้ำท่วมสักทีก็ยังพอมีเวลาให้ฟื้นตัว แต่ไม่ท่วมเลยย่อมจะดีกว่า วันนี้ซึ่งยังพอมีโอกาสเตรียมการป้องกันอุทกภัยในอนาคต ชาวหาดใหญ่ควรทำอย่างไรบ้าง

นักวิจัยจัดทำภาพฉายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับภูมิภาค โดยใช้แบบจำลอง PRECIS (Providing Regional Climate for Impact Studies) 3 ช่วงเวลา คือ ค.ศ. 2010 - 2019 ค.ศ. 2020 - 2029 และ ค.ศ. 2030 - 2039 เทียบกับฐาน ค.ศ. 2000 2009 พบว่า โดยรวมแล้ว อุณหภูมิจะสูงขึ้น อุณหภูมิต่ำสุดรายปีจะเพิ่มเฉลี่ย 0.8 องศาเซลเซียส (จาก 23 องศา เป็น 23.8 องศา) ส่วนอุณหภูมิสูงสุดรายปีจะเพิ่มเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียส (จาก 32.6 องศา เป็น 33.6 องศา) ส่วนใหญ่อุณหภูมิจะสูงขึ้นในฤดูร้อนและฤดูฝน ฝนจะตกน้อยลงอีกในฤดูแล้งและต้นฤดูฝน แต่ฤดูฝนจะมีฝนมากขึ้นจนเกิดน้ำท่วมได้มากขึ้น จะเห็นได้ว่าในฤดูกาลที่ต้องการฝนมากก็กลับมีฝนลดลง ส่วนในฤดูฝนเองก็จะได้น้ำมากจนเกินต้องการ ผลการวิเคราะห์ยังแสดงด้วยว่า ฝนจะตกหนักเพิ่มในเขตตอนกลางและตะวันออกของเมือง ฝนจะตกหนักเป็นพิเศษในช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม เมื่อรู้เช่นนี้ ชาวหาดใหญ่ก็จะเตรียมการป้องกันน้ำท่วมได้ดีขึ้น หลังจากน้ำท่วมใหญ่ครั้งแรก ก็มีการสำรวจสาเหตุของปัญหาและพยายามแก้ไขให้ระบายน้ำได้เร็วขึ้น แต่เท่านั้นยังไม่พอ เพราะสาเหตุที่ใหญ่กว่าสภาพพื้นที่ก็คือสภาพอากาศที่แปรปรวน ถึงแม้มนุษย์เป็นสาเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้น แต่มนุษย์ไม่มีทางย้อนกลับไปทำให้อุณหภูมิลดลงได้แล้ว จึงมีวิธีลดความเดือดร้อนวิธีเดียวคือการเตรียมรับมือ

เมื่อรู้ผลจากการทำภาพฉายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้ ก็จะมีข้อมูลให้นำไปใช้วางแผนป้องกัน และลดผลเสียจากภัยพิบัติทั้งอุทกภัยและฝนแล้งของอำเภอหาดใหญ่ อีกทั้งยังนำไปศึกษาและปรับใช้ในเมืองชายฝั่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันได้

อ้างอิง: Wang, Y., He, B., Herath, S., Basnayake, S., & Huang, W. R. (2014). Climate Change Scenarios Analysis in Coastal Region of Thailand. Journal of Coastal Research, 160-167.

Photo by Thomson Reuters Foundation News

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank