“Low Carbon Society”

Monday, 01 April 2013 Read 1600 times Written by 

01 04 2013 13

Agenda Bangkok (7) “Low Carbon Society” ก้าวพ้นเมืองสีเขียวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ผู้เขียน: siam intelligence unit

เป็นเรื่องที่คุ้นหูคุ้นตาเมื่อมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพครั้งใด ประเด็นหนึ่งที่มักจะถูกมาหยิบยกหาเสียงก็คือเรื่อง “เมืองสีเขียว” ซึ่งหมายความว่ามีต้นไม้เยอะ อากาศดี ปลอดมลภาวะ และคุณภาพชีวิตดี แต่ดูเหมือนการดำเนินนโยบายที่ผ่านมาจะไม่ มีอะไรก้าวไกลไปกว่าการปลูกต้นไม้เพิ่มและการจัดสวนสาธารณะ และยังมีข้อมูลที่น่าตกใจก็คือ จากการจัดอันดับ 20 เมืองที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (climate change) กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความเสี่ยงอันดับที่ 10!!….คงต้องมาคิดแล้วว่าเมืองสีเขียวของเราจะเพียงพอแค่ไหน?

จากที่โครงการ Agenda Bangkok มองไปยังปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบในระยะยาว เราจะพบว่า ภายในปี 2050 ที่เป็นปลายทางของการจำลองภาพอนาคตนั้น เชื้อเพลิงดั้งเดิมสูญหายไปจากภาคการขนส่งโดยสิ้นเชิง เมื่อเราย้อนมาจุดเริ่มต้นที่เราเริ่มมองคือปี 2030 ประเทศไทยจะเริ่มปรับตัวสู่ “สังคมคาร์บอนต่ำ” (Low Carbon Society) ได้อย่างไร? เพื่อที่จะเป็นทางเลือกที่จะลดความเสี่ยงให้กับกรุงเทพฯและประเทศไทย

ในปี 2030 จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะสูงอย่างเสรีจากผลพวงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้มีประชากรจำนวนมากเดินทางเข้ามายังกรุงเทพฯ เราหวังว่าผู้บริโภคนั้นจะยอมจ่ายเงินที่แพงขึ้นเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปล่อย ก๊าซเรือนกระจกลดลง ด้วยวิทยาการเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ จะต้องเป็นแบบประหยัดไฟและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ บางสิ่งที่ควรทำโดยเร่งด่นคือการวางระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการใช้รถส่วนบุคคล และอุตสาหกรรมในประเทศจะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมฐานการผลิตที่ใช้พลังงานและแรง งานจำนวนมาก เข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ที่มาจากฐานของการค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับสินค้า แต่ถ้าหากมองภาพอนาคตในมุมร้ายในปี 2030 เราอาจจะเห็นบางพื้นที่ในโลกทำสงครามกันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรน้ำจืดที่นับ วันยิ่งขาดแคลน หรือเราอาจจะเห็นโรคติดต่อชนิดใหม่ๆหรือโรคเก่าที่กลายพันธุ์ทำให้รักษายาก ขึ้น ซึ่งแนวโน้มในระยะใกล้เราพบโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่และโรคมือเท้าเปื่อยสาย พันธุ์ใหม่ในกรุงเทพฯแล้ว แน่นอนว่าเป็นภาพอนาคตที่เราไม่อยากเจอ หากขยับไปอีกนิดในปี 2040 เราคาดการณ์ว่ากรอบข้อตกลงข้อบังคับสังคมคาร์บอนต่ำจะเป็นที่ตกลงในทุก ประเทศทั่วโลกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศ และการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะเป็นที่ต้องการสูงและสร้างรายได้มหาศาลให้แก่ คนยากจนในชนบที่ปลูกต้นไม้และพืชไร่เพื่อใช้เป็นพลังงาน โดยกลุ่มฐานลูกค้าคือเหล่าบรรดาประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทั้งนี้ อาคารตึกรามบ้านช่องต่างๆ จะมีการปรับปรุงใหม่ รื้อของเก่าที่หมดอายุเพื่อสร้างอาคารที่มีความประหยัดพลังงานมากขึ้น แล้วถ้ามองในแง่ร้ายล่ะ? การซื้อขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกมีผลกระทบน้อยมาก ประเทศมหาอำนาจก็ไม่ได้ลดจำนวนการปล่อยก๊าซ แต่อาศัยรายได้มหาศาลในการซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศกำลังพัฒนา แล้วในขณะนั้นกรุงเทพฯ และประเทศไทยจะเป็นประเทศแบบไหนกัน? สิ่งที่ตามมาอาจจะเป็นความไม่มั่นคงทางการเมืองระหว่างประเทศและความขัด แย้งระหว่างภูมิภาค เนื่องจากภาวะโลกร้อนไม่เอื้อให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ท้ายที่สุด เราหวังว่าในปี 2050 การปล่ยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากมนุษย์มีการรักษาระดับใก้ลกับสถานะคงที่ น่าจะเทียบเท่ากับทศวรรษ 1990 และหวังว่าในขณะนั้นการคิดค้นเทคโนโลยีการให้พลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่นำกลับ มาใช้ใหม่ได้ จะส่งผลให้เชื้อเพลิงอื่นๆ ล้าสมัย  โดยจะเข้ามาอยู่ตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมไปถึงรถยนต์ นี่คือบางส่วนของภาพจำลองในอนาคตของเมืองใหญ่ๆ กับชะตากรรมของโลกที่ต้องเผชิญ ถ้าหากเริ่มนับหนึ่งในปีนี้ อาจจะยังไม่สายที่ภาพอนาคตในด้านร้ายอาจไม่เกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ

เทรนด์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในระดับปานกลาง และมีข้อถกเถียงในระดับปานกลาง เหตุเพราะว่าเราไม่สามารถคาดเดาความล้ำหน้าของวิทยาการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้ถูกต้องแน่นอน และยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่อาจจะทำให้สถานการณ์นั้นดีกว่าหรือเลวร้ายกว่าที่คิด เช่น การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 หรือ การขุดพบแหล่งทรัพยากรขนาดใหญ่ใหม่ๆ เทรนด์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกำหนดความเป็นไปของสังคม เทคโนโลยี การเมือง และเศรษฐกิจ

ข้อเสนอ (Proposal)
เราจะต้องเริ่มเปลี่ยนตั้งแต่ฐานราก นั่นคือการสร้างระบบการศึกษาใหม่ เน้นย้ำคุณค่าของความยั่งยืนและการใช้ชีวิตแบบคาร์บอนต่ำ สู่ระดับครอบครัว การออกแบบอาคารบ้านเรือนให้สอดคล้องกับธรรมชาติโดยอาศัยการคิดค้นวัสดุใหม่ๆ และกระบวนการการผลิตต่างๆ จะมุ่งสู่การไม่สร้างขยะ (Zero waste)  คือนำกลับมาใช้เรื่อยๆ จนแทบไม่เหลือขยะ หรือวางแผนการผลิตด้วยวัสดุย่อยสลายได้ตั้งแต่ต้นทางการผลิต
เรื่องสุดท้ายในระดับมหภาคต้องออกแบบโครงสร้างการกระจายอำนาจแบบใหม่ เปิดโอกาสให้ชุมชนมีเสรีที่จะริเริ่มโครงการเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำมาก ขึ้น โดยองค์กรท้องถิ่นมีหน้าที่สนับสนุนทรัพยากร

ประโยชน์ที่จะได้รับ (Benefit)
หากทำได้สัมฤทธิ์ผลตามภาพอนาคตในแง่ดี ก็คือ เพิ่มความสามารถของกรุงเทพฯ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและขยะพิษที่ย่อยสลายยาก และเพิ่มความสามารถของเมืองในการฟื้นฟูคืนกลับสู่สภาพปรกติ (Resilience) หลังเผชิญภัยพิบัติ คงจำภาพขยะล้นเมืองในตอนน้ำท่วมใหญ่ 2554 ได้ดี คงไม่มีใครอยากให้มันเป็นแบบนั้นอีก ใช่ไหม?

Credit: http://www.measwatch.org/writing/4447

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank