ปาล์มน้ำมันพันธุ์ฮึด "ทนแล้ง" ให้ผลผลิต 5 ตัน

Tuesday, 28 June 2011 Read 9838 times Written by 

plamจิรวรรณ โรจนพรทิพย์ http://www.matichon.co.th/ คิดเป็นเทคโนฯ วันที่ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การปลูกพืชหากเลือกใช้กล้าพันธุ์ที่ดี ย่อมได้ผลผลิตที่ดีตามไปด้วย เป็นข้อปฏิบัติที่ยึดถือกันมานาน สำหรับผู้ที่สนใจปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชที่มีอายุยืนถึง 25 ปี ต้องใช้ระยะเวลาปลูกและดูแลนานกว่าจะได้ผลผลิต ก็ยิ่งจำเป็นต้องพิจารณาคัดเลือกกล้าพันธุ์ปาล์มที่มีคุณภาพดีจริงๆ เพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด

ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร ได้ให้คำแนะนำในการเลือกซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมันว่า ต้องเลือกซื้อพันธุ์ที่เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่า (DxP) ที่มาจากการปรับปรุงพันธุ์ที่ถูกต้อง เลือกต้นที่สมบูรณ์ ลักษณะดี ไม่มีอาการผิดปกติ มีแหล่งที่ผลิต (ที่มา) ของเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้ ต้นกล้าปาล์มน้ำมันควรมีอายุหรือขนาดเหมาะสมตามความต้องการของเกษตรกร เช่น ถ้าปลูกทันทีควรมีอายุ 8-12 เดือน ถ้าซื้อต้นกล้าเล็กเพื่อนำไปปลูกดูแลก่อน ควรซื้อถุงขนาดเล็กที่มีอายุ 2-4 เดือน

คุณจรุง ศรีศรัทธา บ้านเลขที่ 143 หมู่ที่ 11 ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ โทร. (081) 737-9277, (087) 281-6622 ซึ่งคร่ำหวอดในธุรกิจสวนปาล์มมานานเกือบ 40 ปี ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเลือกซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ต้องเลือกซื้อกล้าพันธุ์ปาล์มที่ทนแล้ง

คุณจรุงเข้าสู่ธุรกิจปาล์มน้ำมันตั้งแต่ปี 2515 โดยรับตำแหน่งผู้จัดการดูแลสวนปาล์มน้ำมันประมาณ 3,000 ไร่ ให้กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดกระบี่ คุณจรุงมองว่า ธุรกิจปาล์มน้ำมันมีอนาคตที่ดี จึงตัดสินใจลงทุนซื้อสวนปาล์มเป็นของตัวเอง เนื้อที่ 50 ไร่ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี 2518 หลังจากนั้นก็ลงทุนสร้างสวนปาล์มเพิ่มเติมอีกแห่ง ที่จังหวัดกระบี่ ประมาณ 200 ไร่ ปัจจุบันคุณจรุงดูแลสวนปาล์มของบริษัทและสวนปาล์มของตัวเองรวมทั้งหมด 3,250 ไร่

คุณจรุง เล่าว่า ผมทดลองปลูกปาล์มมาตั้งหลายพันธุ์แล้ว ทั้งพันธุ์ปาล์มที่นำมาจากต่างประเทศและในประเทศ ก็พบจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันมากมาย จนได้ข้อสรุปว่า พันธุ์ปาล์มราคาแพงที่ขายในท้องตลาด ไม่ใช่สิ่งยืนยันคุณภาพว่า เป็นกล้าปาล์มพันธุ์ดี และเหมาะสมสำหรับปลูกในเมืองไทย ก่อนหน้านี้ผมเคยปลูกกล้าพันธุ์ปาล์มคุณภาพดี จากประเทศคอสตาริกา และไอเวอรีโคสต์ พบว่า ต้นปาล์มนำเข้าเหล่านี้ ไม่เหมาะสำหรับปลูกในไทย เพราะมีสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน และมาจากแหล่งผลิตมีปริมาณน้ำฝนสูงเฉลี่ย 2,000-3,000 มิลลิเมตร จึงได้ผลผลิตที่ดี แต่เมืองไทยมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าเพียง 1,800-2,200 มิลลิเมตร แถมเจอภาวะอากาศแปรปรวนบ่อย ยิ่งเจอปัญหาภัยแล้ง กล้าปาล์ม ที่นำเข้าเหล่านี้จึงมีผลผลิตที่น้อยกว่าปลูกในต่างประเทศในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา คุณจรุงได้มีโอกาสทดลองปลูกกล้าปาล์ม ซี.พี. เทเนร่า ซึ่งเป็นผลงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ของ คุณเอนก ลิ่มศรีวิลัย ห้างหุ้นส่วนจำกัด โกลด์เด้นเทเนอรา จังหวัดกระบี่ ปรากฏว่า คุณจรุงชื่นชอบคุณภาพของพันธุ์ปาล์มชนิดนี้อย่างมาก โดยเฉพาะคุณสมบัติทนทานต่อความแห้งแล้งได้มากกว่าพันธุ์ปาล์มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ที่สำคัญให้ผลผลิตในช่วงแล้งสูงถึง 5 ตัน/ไร่ คุ้มค่าต่อการลงทุนมากทีเดียว

คุณจรุงเล่าว่า โดยทั่วไปพันธุ์ปาล์มอื่นๆ จะมีช่อ ประมาณ 14 ทะลาย มีผลผลิตเฉลี่ย 3.2 ตัน แต่ในช่วงฤดูแล้ง ปาล์มพันธุ์ทั่วไปมักออกดอกตัวผู้กันหมด แต่ปาล์มพันธุ์ ซี.พี. เทเนร่า ยังออกทะลายดกสม่ำเสมอเหมือนเดิม เริ่มจากออกดอกตัวผู้เพียง 2-3 ดอก ก็ต่อด้วยออกดอกตัวเมียทั้งหมด มีช่อถึง 18-20 ทะลาย ทนสภาพแห้งแล้งได้ดี หากมีการดูแลอย่างเหมาะสม ใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้น 15-20% จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 6.5 กิโลกรัม/ต้น และมีอัตราผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่า ในปีที่ 9 จะมีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 8 กิโลกรัม/ต้นในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกปาล์มในจังหวัดกระบี่ ประสบภาวะขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง คุณจรุงก็พยายามแก้ไขโดยจ้างแรงงานต่างถิ่น เพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานให้สูงขึ้นจากเดิมที่เคยว่าจ้างแรงงานตัดปาล์มตันละ 300 บาท ก็เพิ่มขึ้นเป็นตันละ 500 บาท โชคดีในช่วงที่ผ่านมา ภาวะราคาปาล์มอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทำให้คุณจรุงมีผลกำไรพอเลี้ยงตัวเองได้ โดยมีรายได้เฉลี่ยไร่ละ 14,000-15,000 บาท

คุณจรุง กล่าวว่า การลงทุนทำสวนปาล์มในขณะนี้ ต้องใช้เงินลงทุนสูง เพราะราคาปุ๋ยและสารเคมีปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนปาล์มในปีนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 2.80 บาท เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีต้นทุนการผลิตเพียง  2.60 บาท/กิโลกรัม หากราคาปาล์มไม่ผันผวนมากนัก ซื้อขายในราคากิโลกรัมละ 3-3.50 บาท ชาวสวนปาล์มก็ไม่ลำบากมากนัก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ชาวสวนปาล์มจำนวนมาก มองถึงความคุ้มค่าทางการลงทุนในระยะยาว จึงหันมาตัดต้นปาล์มเก่า และหันมาปลูก ซี.พี. เทเนร่า มากขึ้น เพราะเป็นสายพันธุ์ปาล์มในท้องที่ ปรับตัวในสภาพภูมิอากาศได้ดีกว่า

ส่วนคุณจรุงก็ปรับตัวในแนวทางเดียวกัน โดยวางแผนทยอยตัดต้นปาล์มเก่าบนเนื้อที่ 200 ไร่ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนำมาปลูก ซี.พี. เทเนร่า ให้หมดภายในปี 2555 ต้นปาล์มที่ปลูกใหม่กว่าจะเก็บผลผลิตออกขายได้ต้องใช้เวลา 2 ปีกว่า แต่ถือว่า ซี.พี. เทเนร่า ให้ผลผลิตเร็วกว่าพันธุ์ปาล์มทั่วไป ที่ต้องใช้ระยะเวลาปลูกนานถึง 30 เดือน จึงจะได้ผลผลิต

ด้าน คุณเอกชัย ตั้งจารุกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร (ซี.พี.เอส.) เครือเจริญโภคภัณฑ์ โทร. (02)675-9365, (089) 663-6605 ที่ดูแลด้านการจัดจำหน่าย ปาล์มพันธุ์ ซี.พี. เทเนร่า กล่าวว่า ซี.พี. เทเนร่า มีลักษณะเด่นคือ มีจำนวนทะลายมากกว่า 18 ทะลาย/ต้น/ปี มีผลใหญ่ มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงมากกว่า 20% ให้ผลผลิตมากกว่า 4 ตัน/ไร่/ปี ลำต้นเตี้ย ความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่เกิน 40 เซนติเมตร/ปี ทนทานต่อสภาพอากาศแล้งนาน 90 วัน

ตั้งแต่ปี 2551-2553 ซี.พี.เอส. ได้จำหน่ายกล้าพันธุ์ปาล์มให้แก่เกษตรกรไปแล้ว 800,000 ต้น ภาคอีสาน 92,000 ต้น ตะวันออกประมาณ 120,000 ต้น ภาคใต้ตอนบนประมาณ 190,000 ต้น ภาคใต้ตอนล่าง กว่า 400,000 ต้น สำหรับผู้ที่สนใจกล้าปาล์มพันธุ์ดี ขอให้อดใจรออีกสักนิด เพราะในปี 2555 ซี.พี. เตรียมเปิดตัวปาล์มน้ำมันพันธุ์ใหม่ที่มีมาตรฐานระดับสากล ปรับตัวได้ดี ทนทาน ต่อโรค และแมลงในประเทศไทย และที่สำคัญให้ผลผลิตสูงกว่า 6 ตัน/ไร่ อีกด้วย

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank