'ตีแตก' การค้าเสรียุคอาฟต้า

Monday, 02 May 2011 Read 1874 times Written by 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,536 3-5  มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันที่ 27 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ "ฐานเศรษฐกิจ" ร่วมกับ 5  องค์กร พันธมิตร ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด(มหาชน) หนังสือพิมพ์โคราชรายวัน และเคเบิ้ลทีวีโคราช จัดสัมมนายุทธศาสตร์การค้า การลงทุนสู่ภูมิภาคสัญจร เรื่อง "ตีแตก" การค้าในยุคอาฟต้า ณ โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากนักธุรกิจ ประชาชน เกษตรกร ข้าราชการ และนักศึกษาเข้าร่วมรับฟังและซักถามข้อสงสัยอย่างล้นหลามกว่า 500 คน


สำหรับ เป้าหมายสำคัญของการจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับทุกภาคส่วนในเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์จากความตกลงทั้งในเชิงรุกและรับให้เกิด ประโยชน์สูงสุด รวมถึงเตรียมตัวรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

++ตะลึง!สิบปียังเป็นเรื่องใหม่
นาย สมศักดิ์  ปริสุทโธ เหมธานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวระหว่างการเป็นประธานเปิดการเปิดสัมมนาว่า อาฟต้าหรือเขตการค้าเสรีอาเซียน แม้จะพูดกันมาเป็นสิบปี และมีผลในทางปฏิบัติแล้ว แต่ก็ยังมีผู้รู้และเข้าใจในวงจำกัด และอาฟต้ายังเป็นของใหม่สำหรับผู้ประกอบการในท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ขณะที่จังหวัดนครราชสีมาถือเป็นประตูสู่อีสาน มีความโดดเด่นเรื่องสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมไหม และการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน หากสามารถใช้อาฟต้าให้เป็นก็จะเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจในท้องถิ่นมาก

++แฉธุรกิจท้องถิ่นปรับตัวช้า
ขณะ ที่นางสุบงกช  วงศ์วิชยาภรณ์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ปัจจุบันสมาชิกของหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา มีประมาณ 800 ราย ประกอบอาชีพหลากหลายสาขา  เช่น พาณิชยกรรม ธุรกิจบริการ โรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร ร้านค้าห้องแถว และอื่นๆ สภาพข้อเท็จจริงของการรับรู้ เข้าใจ และการใช้ประโยชน์จากอาฟต้า ขณะนี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในวงจำกัดเฉพาะผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีการติดต่อ ค้าขายกับประเทศสมาชิกของอาฟต้าเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ข้าราชการ นักศึกษา และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ซึ่ง ถือเป็นสัญญาณอันตราย เพราะถึงวันหนึ่งสินค้า บริการ และการลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้านจะไหลเข้ามาจากการเปิดเสรีอาฟต้า ทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิเลือกสินค้าและบริการที่มีราคาถูกที่สุด และคุณภาพดีที่สุด หากสินค้า หรือธุรกิจในประเทศไม่เร่งศึกษาข้อมูลคู่แข่งขันแบบรู้เขา-รู้เรา และปรับตัวรองรับการแข่งขันคงได้รับผลกระทบแน่นอน

"ปัจจุบันกำแพง ภาษีนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่ของไทยภายใต้ความตกลงอาฟต้าได้ลดลงเป็น 0%แล้ว สิ่งที่ห่วงคือ เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่พวกผัก ผลไม้ต่างๆจะกระทบมาก จากปัจจุบันผลผลิตก็ล้นตลาด และราคาตกต่ำอยู่แล้ว หากจากนี้ไปจะมีสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านทะลักเข้ามาแข่งขันอีกจะยิ่งล้น ตลาด และราคาตกต่ำมากขึ้น เพื่อช่วยเกษตรกรและภาคธุรกิจในพื้นที่ขณะนี้ทางหอการค้านครราชสีมาได้มี โครงการเอสเอ็มอีคลินิก โดยรวมกลุ่มกันออกไปหาตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ได้มีโอกาสแจ้งเกิด"

++จี้เร่งใช้ประโยชน์ภาษี 0%
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในประเด็น "กฎ กติกาของอาฟต้า และการค้าระหว่างประเทศ" ว่า ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า มีมาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งขณะนี้ภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเดิมของอาเซียนอีก 5 ประเทศได้ลดลงเป็น 0% แล้วเกือบทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 (ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวของแต่ละประเทศ)ขณะที่อีก 4 ประเทศซึ่งเข้ามาเป็นสมาชิกภายหลัง ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หรือ CLMV สามารถส่งสินค้าเข้ามาขายใน 6 ประเทศสมาชิกเดิมได้รับสิทธิ์ภาษี 0% เช่นกัน แต่ประเทศเหล่านี้ยังไม่ลดภาษีให้ประเทศสมาชิกลงเป็น 0% แต่จะเริ่มในปี 2558 เพราะถือเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า และยังไม่พร้อมแข่งขันเต็มรูปแบบ

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank