ยะลา-พายุถล่มเบตง ดินสไลด์บ้านพัง

Tuesday, 17 April 2012 Read 1091 times Written by 

17_04_2012_3

พายุฝนถล่มอำเภอเบตงอย่างหนัก เมื่อคืนนี้ ส่งผลให้ดินสไลด์จนบ้านพักของชาวชุมชนซอยร่วมใจพังไป 2 หลัง ขณะที่ ตชด.ลงพื้นที่ช่วยชาวบ้านขนย้ายข้าวของออกมา

พายุฝนที่กระหน่ำลงมาอย่างหนักตลอดทั้งคืนวานนี้ (16 เม.ย.) ทำให้ชาวชุมชนซอยร่วมใจ ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะ  2 ครอบครัวที่ถูกจากดินที่สไลด์ลงมาทับเพิงที่พักซึ่งปลุกด้วยสังกะสี พังเสียหายจนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้  โดยผู้ที่อยู่ในบ้านเล่าว่า ฝนที่ตกอย่างหนักตลอด 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้บ้านเกิดรอยร้าวแต่คิดไม่ถึงว่าจะพังจนลงมาในสภาพนี้เพียงเวลาแค่ไม่ถึงชั่วโมง แม้ว่าพื้นที่ตรงนี้จะเป็นที่เช่า แต่บ้านซื้อต่อเจ้าของเดิมมา โชคดีที่ไหวตัวทันรีบพาคนในครอบครัววิ่งหนีออกมา ทิ้งข้าวของไว้ในบ้าน

ล่าสุดเช้านี้ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 445  เจ้าที่รัฐ รวมไปถึงอาสาสมัคร ลงพื้นที่ช่วยชาวบ้านขนย้ายข้าวของเครื่องใช้ออกจากบ้าน ซึ่งการทำงานต้องระมัดระวังเพราะดินโดยรอบยังคงสไลด์อย่างต่อเนื่อง

ขอขอบคุณ http://www.krobkruakao.com 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank