การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

Wednesday, 29 June 2011 Read 5687 times Written by 

Book-03

รายงานฉบับสมบูรณ์ การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

จัดทำโดย: บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี

เดือนปีที่พิมพ์: เมษายน 2553 

คำนำ

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อมได้มอบหมายให้บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยซึ่งเป็นการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) และใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำรายงานแห่งชาติครัง้ที่สองของประเทศไทย นำเสนอต่อ สหประชาชาติ ภายใต้พันธกิจของประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 ของประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง(United Nation FrameworkConvention on Climate Change: UNFCCC) การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกนี้คำนวณโดยใช้วิธีการตามคู่มือการคำนวณของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Intergovernmental Panel onClimate Change : IPCC) ประกอบด้วย Revised 1996 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories,2000 IPCC Good Practice Guidance and Uncertainty Management in National Greenhouse Gas Inventories และ 2003 Good Practice Guidance for Land Use, Land-Use Change and Forestry เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ได้คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2543-2547 (ค.ศ. 2000-2004) เพื่อให้ประเทศไทยมีข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบต่อเนื่องเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตได้ ในการคำนวณได้ใช้ข้อมูลกิจกรรม(Activity Data) จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทัง้จากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชนและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดประชุมกลุ่มย่อยในแต่ละภาคการปล่อยเพื่อตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) ก่อนนำมาใช้ สำหรับค่าการปล่อย (Emission factor) ได้เลือกใช้ค่าการปล่อย (Emission Factor) ที่มีความน่าเชื่อถือได้ในประเทศเป็นลำดับแรกก่อนใช้ค่าแนะนำของคู่มือฯ ในการจัดทำยังได้ ยึดถือหลัก ความสมบูรณ์ของข้อมูล (Completeness) การตรวจสอบได้ของข้อมูล (Accountability) และความโปร่งใสในการคำนวณ (Transparency) ดังจะเห็นได้จากส่วนการรายงานผล ที่ได้รวบรวมข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) และ ค่าการปล่อย (Emission Factor) แสดงในตารางและsoftware ที่สหประชาชาติแนะนำ ได้จัดทำ ในรูปแบบที่สามารถตรวจสอบแหล่งอ้างอิงข้อมูลและสามารถปรับใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการคำนวณต่อไป เนื่องจากการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศมีแนวโน้มว่าอาจมีการจัดทำบ่อยครั้งขึ้น ดังนั้นการดำเนินการจัดทำครัง้ต่อไปควรมีความต่อเนื่องจากข้อ มูลเดิมและพัฒนาต่อยอดทัง้วิธีการและความน่าเชื่อถือของการได้มาของข้อมูล คณะผู้จัดทำหวังให้การดำเนินการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือน กระจกของประเทศในครัง้นี้ เป็นรากฐานในการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครั้งต่อๆ ไปที่จะมีขึ้น เพื่อให้ตัวเลขซึ่งใช้เป็นค่าอ้างอิง ถูกต้องและแม่นยำ มากยิ่งขึ้นรายงานฉบับนี้เป็นรายงานหลัก (Main Report) ประกอบด้วยปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการปล่อยเป็น รายภาคและรายสาขาเป็นหลัก ส่วนรายละเอียดของการคำนวณและข้อมูลในการคำนวณในแต่ละภาคการปล่อย จัดทำเป็นรายงานแต่ละภาค (Sectoral Report) ได้แก่ ภาคพลังงาน ภาคกระบวนการอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและภาคของเสีย ซึ่งได้จัดทำในรูปของแถบบันทึกข้อมูลแนบท้ายรายงานนี้

ที่มาข้อมูล: http://www.onep.go.th (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

ดาวน์โหลดรายงานฉบับสมบูรณ์: http://www.onep.go.th/images/stories/file/NC_GHG_Inventory_book.pdf

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank