การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Wednesday, 08 August 2012 Read 1992 times Written by 

ae2

รศ.ดร. อำนาจ ชิดไธสง
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้เกิดน้ำท่วมจริงหรือ

เมื่ออากาศแปรปรวน เช่นฝนตกหนักน้ำท่วม อากาศหนาวเย็นฉลับพลัน ร้อนจัด เกิดพายุลมแรง หรือฝนไม่ตก พืชล้มตายเสียหาย คำถามที่คนมักถามคือ สิ่งเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ใช่หรือไม่

เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเข้าใจแบบเก่าคือ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจต้องใช้เวลานานก่อนกว่าจะสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น เมื่อโลกร้อนขึ้น น้ำแข็งละลายระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น การที่จะเห็นว่าน้ำทะเลได้เพิ่มขึ้นจนเกิดผลกระทบ อาจใช้เวลาเป็นชั่วอายุคนทำให้เรารู้สึกว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่ตามมา เป็นเรื่องไกลตัว สัมผัสไม่ได้มองไม่เห็น ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่า ยังไม่จำเป็นต้องดำเนินการอะไรเพื่อแก้ไขปัญหา

แต่ถ้าพูดถึง น้ำท่วม พายุเข้า ความแห้งแล้งที่ทำให้พืชผลเสียหาย เกิดการขาดแคลนอาหารการกิน ก็มักจะได้รับการใส่ใจ เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง

คำถามจึงมีอยู่ว่า สภาพอากาศที่แปรปรวนและมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและต่อเศรษฐกิจ อย่างน้ำท่วมใหญ่ในปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่

ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์พยายามหลีกเลี่ยงการตอบคำถามที่ต้องการคำตอบแบบ “ฟันธง” เช่นนี้ ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมา ความรู้เรายังไม่มากพอยังหาทฤษฎีที่จะอธิบายหรือหลักฐานอย่างชัดเจนที่จะมาพิสูจน์ไม่ได้ จึงได้แต่บอกว่า เหตุการณ์รุนแรงทางสภาพอากาศ เช่น น้ำท่วมจากการมีฝนตกหนัก หรือมีจำนวนพายุมากกว่าปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อโลกร้อนขึวิต

ตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์ เริ่มเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางภูมิอากาศต่างๆ เช่น การเกิดฝนตกหนัก น้ำท่วม การเกิดพายุรุนแรง บ้างแล้ว

การศึกษาร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์อังกฤษและสหรัฐอเมริกา เมื่อปีที่แล้ว (๒๕๕๔) สามารถแสดงให้เห็นว่า การที่บรรยากาศโลกมีก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น มีผลทำให้ฝนตกมากขึ้นจนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมในประเทศอังกฤษเมื่อปี (๒๕๔๓) ที่ผ่านมา และพบว่าการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโลก ทำให้ความเสี่ยงจากฝนตกหนักและน้ำท่วมเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ ๙๐

ในประเทศแคนาดา ข้อมูลจากการตรวจวัดพบว่า เหตุการณ์ฝนตกหนักมีเพิ่มมากขึ้นอย่างผิดสังเกตในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา คณะนักวิจัยของแคนาดาจึงทำการศึกษาโดยใช้รูปแบบจำลองภูมิอากาศโดยเปรียบเทียบในกรณีที่มีและกรณีที่ไม่มีภาวะโลกร้อน พบว่าความรุนแรงทางสภาพภูมิอากาศที่ผ่านมา มีสาเหตุมากจากการที่บรรยากาศมีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น

การที่กิจกรรมของมนุษย์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ ทำให้อุณหภูมิของบรรยากาศร้อนขึ้นส่งผลให้ ปริมาณน้ำระเหยจากผิวมหาสมุทร ผิวดินและการคลายน้ำของพืชมากขึ้น ปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจึงมากกว่าปกติ นอกจากนี้การที่อุณหภูมิของบรรยากาศร้อนขึ้นด้วย (เพราะปริมาตรของบรรยากาศขยายตัวมากขึ้นตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น)นักวิทยาศาสตร์คำนวณไว้ว่า อุณหภูมิทุกๆ ๑ องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้น ความสามารถของบรรยากาศในการจุไอน้ำจะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗

เมื่อไอน้ำในบรรยากาศมีมากขึ้น โอกาสที่ไอน้ำเหล่านี้จะร่วมตัวกันกลายเป็นฝนจึงมีมากขึ้น นอกจากนี้การที่อุณหภูมิมหาสมุทรและปริมาณไอน้ำในบรรยากาศมากขึ้น ยังเป็นสภาพที่ทำให้เกิดพายุได้ดีขึ้นอีกด้วย จากรายงานของ IPCC ฉบับที่ ๔ ในปี ๒๕๕๐ พบว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ จนถึงปัจจุบัน ปริมาณไอน้ำในบรรยากาศเหนือมหาสมุทรโลกได้เพิ่มขึ้นแล้วกว่าร้อยละ ๔

การศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่า ฝนที่มาจากพายุเพิ่มกว่าร้อยละ ๓๐ ในพื้นที่ตอนกลางของประเทศ และพบว่าหลังจากการตกหนักของฝนซึ่งทำให้บรรยากาศสูญเสียไอน้ำไปแล้ว พื้นที่นั้นๆ มักพบกับความแห้งแล้งที่ยาวนานกว่าปกติ เพราะปริมาณไอน้ำในบรรยากาศไม่มากพอที่จะก่อให้เกิดฝนอีก

ในประเทศไทย ถึงแม้จะยังไม่มีการศึกษาว่า น้ำท่วมในปีที่ผ่านๆมา มีสาเหตุมาจากโลกร้อนมากน้อยแค่ไหน แต่ข้อมูลจากงานวิจัยที่สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบว่าในหลายพื้นที่ของประเทศมีความเสี่ยงต่อภาวะฝนตกหนักเพิ่มมากขึ้น เช่น ในเขตกรุงเทพมหานคร ในช่วง ๒-๓ ทศวรรษที่ผ่านมามีปริมาณฝนรวมรายปีและความแรงของฝนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ บริเวณพื้นที่ชายฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย ความแรงของฝนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แนวโน้มดังกล่าวได้รับอิทธิพลอย่างมากจากระบบลมมรสุมเอเชียและปรากฎการณ์เอลนิโญ-ลานิญา

เมื่อมองอนาคต ผลจากแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทยแสดงให้เห็นว่าปริมาณฝนบริเวณประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ความยาวของฤดูฝนจะยังคงเดิมหรือมีโอกาสที่จะหดสั้นลง นั่นอาจหมายความว่า ความแรงของฝนจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนที่มากับฝนที่ตกหนักมีแนวโน้มมากขึ้น

โดยสรุป การที่โลกร้อนขึ้นเพราะมีก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศมากขึ้นนั้น ส่งผลให้ความรุนแรงของฝนเพิ่มมากขึ้น ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในคราวเดียวกันมีแนวโน้มมากขึ้น ซึ่งความรุนแรงของฝนที่ตกในแต่ละครั้งผนวกกับการจัดการน้ำเพื่อตั้งรับในแต่ละพื้นที่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อโอกาสในการเกิดน้ำท่วม

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank