โลกกับความจริงใหม่ ท่วมใหญ่-แล้งจัด

Wednesday, 28 December 2011 Read 1258 times Written by 

171
คณะนักวิทยาศาสตร์ 220 คน ที่รวมตัวกันขึ้น เป็น"คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ" หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "ไอพีซีซี" ซึ่งอยู่ใต้องค์กรระหว่างประเทศสำคัญอย่าง สหประชาชาติ เพิ่งออกมายืนยันสิ่งที่คนไทยเรารู้สึกกันมานานร่วมเดือนว่า ดินฟ้าอากาศของโลกใบนี้ ดูวิปริตผิดแผกไปจากเดิมที่มันเคยเป็น

เป็นการออกมายืนยันอย่างเป็นทางการผ่านรายงานทางวิชาการหนากว่า 600 หน้า ที่มีใจความสรุปว่า ภาวะฝนหนัก พายุรุนแรง กับภาวะแล้งจัดจนยากเข็ญที่เกิดขึ้นควบคู่กันในไปบนโลกใบนี้ จากเอเชียตะวันออกไปจรดแอฟริกา และสหรัฐอเมริกาจะกลายเป็น "รูปแบบ" ที่โลกจำต้องเผชิญหน้าต่อไปในอีกหลายทศวรรษที่กำลังจะมาถึง เพราะการเปลี่ยนแปลงภาวะอากาศโลกเริ่มแสดงให้เห็นพิษสงของมันแล้ว

พูดง่ายๆ ก็คือ ภาวะอากาศแบบ "สุดโต่ง" หรือ "เอ็กซ์ตรีม เวทเธอร์" ที่ครั้งหนึ่งเคยเกิดขึ้นนานๆ สักครั้ง จะกลายเป็นภาวะ "ปกติสามัญ" ที่ทุกคนจะต้องเผชิญรับนับจากนี้ไปโลกกำลังเผชิญกับข้อเท็จจริงใหม่ในทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า เราไม่จำเป็นต้องรอให้อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศรอบโลกอันเกิดขึ้นจากน้ำมือของเราเอง ทวีสูงขึ้นไปจนถึงระดับที่เราไม่อาจทานรับได้ จึงก่อให้เกิดปัญหา สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินแต่เพียงแค่อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียงไม่กี่มากน้อย ก็สามารถเปลี่ยนแปรสภาวะภูมิอากาศให้เป็นไปในอีกรูปแบบหนึ่งโดยสิ้นเชิง รูปแบบที่เราจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับมวลน้ำมากมายมหาศาลชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน หลากทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า เหมือนอย่างที่เราพานพบกันอยู่ในเวลานี้ ต้องเผชิญกับภาวะแล้งเข็ญ ชนิดทำให้ไม้ใหญ่ยืนต้นตายอย่างอับจนปัญญา เหมือนอย่างในแอฟริกาตะวันออก หรือเกิดพายุรุนแรงร้ายกาจต่อเนื่องลูกแล้วลูกเล่า และแม้กระทั่งพายุหิมะที่ทั้งรุนแรงและหนักหนาสาหัสมากกว่าทุกครั้ง และมาผิดกาลเวลาในทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาเมื่อไม่นานมานี้ทั้งหมด ทำให้ทุกคนยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า 2011 คือปีแห่งหายนภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายในทางเศรษฐกิจ ชีวิตและทรัพย์สินสูงสุดเป็นประวัติการณ์เท่าที่เคยมีมา จำเพาะในเมืองไทยก็อาจสูงถึงแสนล้านบาท ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกามีภัยธรรมชาติมากกว่า 10 ครั้ง ที่สร้างความเสียหายให้เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อครั้ง รวมกันแล้วการสูญเสียมากถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ปีเดียว

เจฟฟ์ มาสเตอร์ส แห่งเวเธอร์ อันเดอร์กราวด์ บอกเอาไว้ว่า เขาอยู่ในแวดวงอุตุนิยมวิทยามานานกว่า 30 ปี ไม่เคยมีปีไหนภาวะอากาศรุนแรงสุดโต่งเหมือนปีนี้มาก่อน

รุนแรง แล้วก็เป็นทั้งบทเรียน และคำเตือนให้กับโลกทั้งโลกครับ

บ๊อบ เวิร์ด ผู้อำนวยการด้านนโยบายและ การสื่อสารของสถาบันวิจัยแกรนแธม ในสังกัด ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์ (แอลเอสอี) ชี้ว่า รายงานที่ชื่อ "รายงานพิเศษว่าด้วยภาวะสุดโต่งของ ภูมิอากาศ" ข้างต้นนี้ สะท้อนให้เห็นว่าบรรดานักวิทยาศาสตร์เข้าใจ "กระจ่างชัด" แล้วว่า "การเปลี่ยน แปลงภาวะอากาศได้ส่งผลกระทบต่อหลายๆ ส่วนของโลกแล้วทั้งในแง่ความถี่ของการเกิดเหตุการณ์ ความหนักหน่วงของเหตุการณ์ และสถานที่เกิดของภาวะอากาศแบบสุดโต่ง อย่างเช่นคลื่นความร้อน, ภาวะแห้งแล้งและน้ำท่วมฉับพลัน"

เขาย้ำว่าเรื่องนี้ต้องใส่ใจ เพราะเดิมทีภาวะอากาศสุดโต่งแบบนี้เกิดขึ้นยากมาก น้อยเสียจนไม่สามารถตรวจจับหาแนวโน้มในแง่สถิติได้

"แต่ตอนนี้ เทรนด์เหล่านี้เห็นได้ชัดเจน ไม่เพียงเท่านั้น ยังเห็นได้ชัดในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ตอนที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นเพียงแค่ 1 ใน 10 ของ 1 องศาเซลเซียสเท่านั้นเอง"นักวิทยาศาสตร์ของไอพีซีซี อาศัยแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ แสดงให้เห็นว่า "มีความเป็นไปได้สูงยิ่ง" อันเป็นคำที่ใช้กันในการเขียนพรรณนาข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์เมื่อมันมีความเป็นไปได้ระหว่าง 90-100 เปอร์เซ็นต์ว่า "กระแสอากาศอุ่นหรือคลื่นความร้อนจะโจมตีมวลที่เป็นผืนแผ่นดินเพิ่มมากขึ้นทั้งในแง่ของระยะเวลาการเกิด, ความถี่ของการเกิด และความเข้มข้นเมื่อมันเกิดขึ้น"นั่นหมายความง่ายๆ ว่า ภาวะวันที่ร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเกิดขึ้นให้พบเห็น 1 ครั้งในทุกๆ 20 ปี จะเกิดขึ้นแบบ "ปีเว้นปี" นับตั้งแต่นี้ต่อไป"ฮีท เวฟ" คลื่นความร้อนเข้มข้นที่ว่านี้ ส่งผลกระทบสูงมากต่อคนชราและเด็กๆ ที่เปราะบางต่อความผันผวนขึ้นลงของอุณหภูมิอย่างยิ่งแบบจำลองดังกล่าวยังแสดงให้เห็นด้วยว่า "มีความเป็นไปได้สูง" ที่ในศตวรรษที่ 21 นี้ ในหลายพื้นที่ของโลกจะเกิดภาวะฝน ลูกเห็บ หิมะ ตกหนักบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น หรือไม่ก็จะเกิดภาวะ "ฝนตกหนัก" ถึง "หนักมาก" ทวีปริมาณเพิ่มขึ้น ภาวะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นกับดินแดนในแถบละติจูดสูงๆ และดินแดนในแถบร้อนชื้นอย่างประเทศไทยของเรา กับพื้นที่ทางเหนือเส้นศูนย์สูตรบริเวณตอนกลางภาวะฝนตกหนักเกี่ยวพันเชื่อมโยงกันกับการเกิดพายุไซโคลนในเขตร้อนชื้นซึ่งจะทวีขึ้นทั้งความถี่ของการเกิดและความรุนแรงของการเกิดเช่นกันสภาวะดังกล่าวซึ่งเคยเกิดขึ้น 1 ครั้งในทุกๆ 20 ปี จะกลับมาเยือนเราถี่ขึ้นเป็นทุกๆ 5 ปี!แม้นักวิทยาศาสตร์จะยังไม่ปักใจว่านั่นอาจจะ หมายถึงการ "ท่วมใหญ่" เหมือนกับที่เราเผชิญหน้ากันอยู่ในเวลานี้ทุกๆ 5 ปี เนื่องเพราะภาวะน้ำท่วมใหญ่นั้นมีองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามามีส่วนอยู่ด้วยอย่างสำคัญ อย่างเช่น สภาพภูมิประเทศ การเกิดขึ้นของชุมชนเมือง และอื่นๆแต่นั่นก็หมายความได้ในสองทาง หนึ่งนั้น ทุกๆ 5 ปีเราเสี่ยงที่จะเผชิญกับมหาอุทกภัยสูงยิ่ง หรือไม่เช่นนั้นอุทกภัยขนาดไม่ใหญ่โตนักก็อาจเกิดขึ้นได้ถี่กว่า ชนิดปีต่อปีก็ได้เช่นเดียวกันครับ

คริส ฟีลด์ ประธานร่วมของไอพีซีซี ที่เป็นผู้จัดทำรายงานชิ้นนี้ บอกเอาไว้ว่า ทั้งหมดที่แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์แสดงออกมานั้น ชัดเจนกระจ่างแจ้งอย่างยิ่ง

"เอ็กซ์ตรีม เวทเธอร์" ไม่เพียงมาเยือนเราได้บ่อยครั้งเท่านั้น "ภาวะอากาศสุดโต่งที่สำคัญๆ บางอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป และจะเปลี่ยนไปมากยิ่งขึ้นในอนาคต เรามีหลักฐานที่ชัดเจนกระจ่างในเรื่องนี้ ที่ทำให้เราสามารถรู้ด้วยว่ามีสาเหตุหลายต่อหลายอย่างที่ก่อให้เกิดความสูญเสียระดับหายนะขึ้นมา"

คำร้องขอของเขาก็คือ รัฐบาลควรใส่ใจว่า การสูญเสียหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ระดับหายนภัย ทั้งในทางด้านเศรษฐกิจและในส่วนของผลกระทบต่อมนุษย์นั้น สามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าหากรัฐบาลตื่นตัวและเตรียมพร้อมเพียงพอ

"เราสูญเสียชีวิตผู้คนและทรัพย์สินไปให้กับหายนภัยธรรมชาติ มากมายเกินไปแล้วในเวลานี้"

ขอขอบคุณที่มา:http://www.gsei.or.th/platform/article34.php

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank