พัฒนาไทยแลนด์ ให้เป็นดินแดนคาร์บอนต่ำ

Wednesday, 02 January 2019 Read 2491 times Written by 

syn49

 

พัฒนาไทยแลนด์ ให้เป็นดินแดนคาร์บอนต่ำ
แนวทางลดการปล่อย
CO2 จากภาคอุตสาหกรรมและพื้นที่เมือง ประเทศไทยเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ

ในยุคสมัยของการพัฒนา พัฒนา และพัฒนา โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการขยายเมือง ทำให้ต้องใช้พลังงานมหาศาลในการทำอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกซึ่งสร้างรายได้ให้ประเทศพร้อม ๆ กับสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่เมือง

แต่ยิ่งทำอุตสาหกรรมมากขึ้น และสนองความอยากมีอยากใช้มากขึ้น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ยิ่งมากขึ้น ทำให้โลกร้อนขึ้น โดยพบว่า ภาคอุตสาหกรรมปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 มากถึง 119 MtCO2eq คิดเป็นร้อยละ 38 จากการปล่อยทั้งหมดของไทย โดยเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ปล่อยก๊าซนี้มากถึงเกือบ 45.8 MtCO2eq ต่อปี

แนวคิดสวนกระแสที่จะเข้ามาช่วยลดปัญหาการปล่อย CO2 ดังกล่าวก็คือ มาตรการสร้าง สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “LCSเพื่อมุ่งพัฒนาไทยสู่การเป็นสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ภาคอุตสาหกรรม ก็คาร์บอนต่ำได้

          นักวิจัยได้วิเคราะห์ผลการลดปริมาณ CO2 ในภาคอุตสาหกรรม และผลพลอยได้ต่าง ๆ จากภาพจำลองเชิงนโยบาย ทำให้ได้แนวทางหลายประการกล่าวคือ

          มาตรการลด แต่เพิ่ม เป็นผลจากการศึกษา Asia-Pacific Integrated Model (AIM)/Enduse ซึ่งเป็นแบบจำลองการเลือกใช้เทคโนโลยี เพื่อ “ลดปริมาณการใช้พลังงาน” แต่ “เพิ่มประสิทธิภาพ” และลดการปล่อย CO2 ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น โดยการใช้ Marginal Abatement Cost (MAC) หรือ เส้นโค้ง ต้นทุนการลดการปล่อย CO2 ซึ่งจะเท่ากับ ต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง เมื่อปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิต โดยต้องเลือกจากต้นทุนที่ ต่ำที่สุด โดยมีปัจจัยคือความพึงพอใจ พลังงานที่มีใช้ และการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การผลิต

ความตั้งใจที่จะลด ช่วยกำหนดความสำเร็จ จากภาพจำลอง Business As Usual (BAU) พบว่า LCS scenarios จากความตั้งใจที่จะลดการปล่อย CO2 โดยกำหนดเป้าหมายตั้งแต่ LCS ต่ำไปจนถึงสูง ด้วยการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่ 2 การดักจับและจัดเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage; CCS) จะสามารถช่วยลดการสะสม CO2 ลงได้ประมาณร้อยละ 35 ในปี 2050 พร้อมทั้งช่วยบรรเทาผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในท้องถิ่นได้อีกด้วย

กรุงเทพฯ มหานครคาร์บอนต่ำ

          แนวคิด LCS ในเขตเมืองกรุงเทพฯ เป็นแนวทางการพัฒนาสังคมให้มีคุณภาพชีวิตสูงขึ้น โดยเป้าหมายหลักยังคงมุ่งที่ลดการใช้พลังงานและลดการปล่อย CO2 ด้วย

          ผลที่ได้จาก Multi-Criteria Decision Analysis (MCDA) ชี้ว่า การปล่อย CO2 ในเมืองจะเพิ่มขึ้นจาก 43 MtCO2eq ในปี 2015 ไปเป็น 149 MtCO2eq ในปี ค.ศ. 2050 เพราะคนต้องการใช้พลังงานมากขึ้นขณะที่ Bilan Carbone model ระบุว่า กรุงเทพฯ จะเป็นมหานครคาร์บอนต่ำได้ ด้วยการพัฒนาภายใต้ 2050 LCS” โดยการใช้พลังงานสะอาด และลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล

9 นโยบาย ขับเคลื่อนเมืองฟ้าอมรสู่คาร์บอนต่ำ แนวทางเพื่อให้กรุงเทพฯ บรรลุ 2050 LCS ดังกล่าว การศึกษาระบุว่า เกือบร้อยละ 60 ของการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จะประสบความสำเร็จภายในปี ค.ศ. 2050 ประกอบไปด้วย

1. ปรับปรุงการใช้พลังงานจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพในภาคที่อยู่อาศัย

2. ปรับปรุงพฤติกรรมการใช้พลังงาน และอัพเกรดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพภายในอาคาร

3. รหัสอาคาร (Building codes) ระบุการปรับปรุงฉนวนกันความร้อนและมาตรการอนุรักษ์พลังงาน/ลด CO2 ของอาคารพาณิชย์หรือที่อยู่อาศัย ในเขตเทศบาล/เขตเมือง

4. ปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรม

5. อุตสาหกรรมใช้พลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล

6. ปรับปรุงการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง พร้อมส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ

7. ปรับปรุงประสิทธิภาพยานพาหนะ ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยไฮบริดและก๊าซธรรมชาติ

8. ส่งเสริมการขนส่งทางรางและทางน้ำ (Modal Shift) เพื่อประหยัดพลังงานและช่วยลดมลพิษ

9. การผลิตไฟฟ้าก็ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพและใช้พลังทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงด้วย

ทั้งหมดนี้ จะช่วยให้ไทยกำหนดนโยบายการบริหารจัดการด้านพลังงาน และดำเนินกลยุทธ์การบรรเทาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาจึงจะถูกทางและยั่งยืน

อ้างอิง :

Selvakkumaran, S., Limmeechokchai, B., Masui, T., Hanaoka, T., & Matsuoka, Y. (2014). Low carbon society scenario 2050 in Thai industrial sector. Energy Conversion and Management, 85, 663-674.

Selvakkumaran, S., Limmeechokchai, B., Masui, T., Hanaoka, T., & Matsuoka, Y. (2015). A quantitative analysis of Low Carbon Society (LCS) measures in Thai industrial sector. Renewable & Sustainable Energy Reviews, 43, 178-195.

Ali, G., Pumijumnong, N., & Cui, S. (2017). Decarbonization action plans using hybrid modeling for a low-carbon society: The case of Bangkok Metropolitan Area. Journal of Cleaner Production, 168, 940-951.

Photo by Asian Development Bank

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank